Department of Thai Traditional and Alternative Medicine
กระดังงา เป็นไม้ยืนต้นตระกูลเดียวกับน้อยหน่าและการเวก ในอดีตมีการนำดอกกระดังงามาอบขนมไทยให้มีกลิ่นหอม ใช้วิธีนำดอกกระดังงาแก่จัดสด ๆ มาลนเปลวไฟจากเทียนเพื่อให้ต่อมน้ำหอมในกลีบดอกแตก และส่งกลิ่นหอมออกมามากกว่าปกติ แล้วนำไปเสียบไม้ลอยน้ำในภาชนะปิดสนิท 1 คืน นำน้ำนั้นไปคั้นกะทิ หรือ ทำน้ำเชื่อมปรุงขนมหวาน เทคนิควิธีการนำดอกกระดังงามาลนไฟเป็นที่มาของสำนวนไทยที่ว่า “กระดังงาลนไฟ” ซึ่งกระดังงาที่พบบ่อยในประเทศไทยมี 3 ชนิด ได้แก่ กระดังงาไทย (Cananga odorata (Lam.) Hook.f. & Thomson var. odorata) กระดังงาสงขลา (Cananga odorata (Lam.) Hook.f. & Thomson var. fruticosa (Craib) J.Sinclair) และกระดังงาจีน (Artabotrys hexapetalus (L.f) Bhandari) ทั้ง 3 ชนิดนี้ส่งกลิ่นหอมยามเย็นและช่วงกลางคืน จึงมีการนำกระดังงามาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมน้ำหอมอย่างกว้างขวาง
Department of Thai Traditional and Alternative Medicine
เลขที่ 88/23 หมู่ 4 ถนนติวานนท์
ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : (+66) 0-2591-7007
โทรสาร : (+66) 0-2591-7007
ติดตาม ผ่านทางโซเชียลมีเดียได้ที่
© สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2566 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 | กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก