Page 183 - วารสารการแพทย์แผนไทย ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2565
P. 183
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2565 Vol. 20 No. 3 September-December 2022
บทปริทัศน์
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษและฤทธิ์ต้านการอักเสบ
ของแก่นฝาง
สุมาลี ปานทอง
สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตำาบลคลองหนึ่ง อำาเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
ผู้รับผิดชอบบทความ: psumalee@tu.ac.th
บทคัดย่อ
โรคอาหารเป็นพิษจากเชื้อแบคทีเรียเป็นโรคที่พบบ่อยในประเทศไทยทุกฤดูกาล โดยทั่วไปในการรักษาโรคดัง
กล่าวเป็นการรักษาตามอาการ แต่ในกรณีที่มีอาการรุนแรงจะมีการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยฆ่าเชื้อ แพทย์แผนไทยมี
การใช้แก่นฝางเพื่อบรรเทาอาการของโรคท้องร่วง การทบทวนวรรณกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมความ
รู้เกี่ยวกับผลของแก่นฝางและสารองค์ประกอบหลักที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย และบรรเทาอาการอักเสบ เพื่อให้
ทราบถึงกลไกการออกฤทธิ์ของแก่นฝาง จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าสารสกัดของแก่นฝางสามารถยับยั้งเชื้อ
แบคทีเรียทั้งแบคทีเรียแกรมลบ แบคทีเรียแกรมบวก และเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะได้ ยิ่งไปกว่านั้นแก่นฝาง
ยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยยับยั้งการหลั่งไนตริกออกไซด์ และไซโตไคน์ที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบ สารองค์ประกอบ
หลักในฝางคือ brazilin ซึ่งสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและต้านการอักเสบได้เช่นกัน ดังนั้นแก่นฝางจึงเหมาะสมที่จะ
ใช้ยับยั้งเชื้อและลดอาการอักเสบในผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ
คำ�สำ�คัญ: ฝาง, โรคอาหารเป็นพิษ, ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย, ฤทธิ์ต้านการอักเสบ
Received date 27/04/22; Revised date 02/07/22; Accepted date 29/11/22
597