Page 132 - วารสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 17 ฉบับที่ 3
P. 132

482 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก       ปีที่ 17  ฉบับที่ 3  กันยายน-ธันวาคม 2562




           ตารางที่ 1 หมอพื้นบ้าน ภูมิลำาเนา และองค์ความรู้ตำารับยารักษาโรคริดสีดวงทวาร จังหวัดศรีสะเกษ

               หมอพื้นบ้าน        ภูมิลำาเนา           องค์ความรู้ตำารับยารักษาโรคริดสีดวงทวาร
             1.  นายล้วน พงษ์ธนู    อ.ปรางค์กู่   หั่นกล้วยนำ้าว้าสุก และเทนำ้าผึ้ง คนให้เข้ากัน รับประทานให้หมดภายใน
                                              วันเดียว รับประทานติดต่อกัน 1 สัปดาห์
             2.  นายลอง นวลศิริ    อ.กันทรารมย์  ใช้ว่านริดสีดวง (ว่านหอมแดง) ต้มในนำ้าเปล่า สีเริ่มเปลี่ยนจะสามารถ
                                              ดื่มได้เลย ดื่มหลังอาหาร เช้า-เย็น ครั้งละ 1 แก้ว ดื่มติดต่อกันไป
                                              ประมาณ 3 สัปดาห์
             3.  นายพวน จังอินทร์   อ.อุทุมพรพิสัย  แก่นจำาปา รากสมัด แก่นปีบ แก่นมันปลา แก่นคอมส้ม โคกกระสุน ต้น
                                              ไมยราบ มัดรวม และต้มดื่ม เช้า-เย็น ดื่ม 3 หม้อ
             4.  นายเชี่ยวชาญ ผกาแดง   อ.อุทุมพรพิสัย  กำาแพงเจ็ดชั้น แก่นจำาปา (ใช้แก่นมันปลาแทนได้) ผกากรอง หนอนตาย
                                              หยาก เพชรสังฆาต ปลาไหลเผือก เติมนำ้าพอท่วมยา ต้มพอเดือด แล้ว
                                              ยกลงมาดื่ม
             5.  นายแสน จันทรา    อ.ไพรบึง    ขนานที่ 1
                                              เพชรสังฆาต หั่นตากแดดให้แห้ง บดเป็นผง ผสมกับนำ้าผึ้ง ปั้นเป็นก้อน
                                              ลูกกลอน รับประทานตอนเช้า 1 เม็ด พร้อมกับกล้วยสุก 1 ลูก หลังอาหาร
                                              ขนานที่ 2
                                              รากส้มกบ 5 ท่อน ต้มดื่มตอนเย็นหลังอาหาร
                                              ขนานที่ 3 (ยาทาแผล)
                                              รากปลาไหลเผือกผสมกับนำ้าซาวข้าว เมื่อเป็นแผลให้ฝนทาบริเวณที่เป็น
                                              แผล เช้า-เย็น ประมาณ 6-7 วัน
             6.  นายบุญมี เลิศศรี    อ.ขุนหาญ   ปีกกาดำา ว่านชักมดลูก ไผ่สีสุก ไผ่เหลือง กำาแพงเจ็ดชั้น และ แก่นตากวาง
                                              เติมนำ้าพอท่วม ต้มพอเดือด รับประทาน เช้า-เย็น สามารถต้มได้ 7 ครั้ง
                                              หรือจนยาจืด
             7.  นายเหลา สมภารเพียง    อ.อุทุมพรพิสัย  ขนานที่ 1
                                              แก่นสะแบง แก่นมะขามเปรี้ยว แก่นมะขามหวาน ต้มดื่มเวลาเช้า เที่ยง
                                              และเย็น ก่อนหรือหลังอาหาร ครั้งละ 1 แก้ว
                                              ขนานที่ 2
                                              กำามะถันเหลือง นำ้าผึ้ง บดกำามะถันเหลือง ผสมกับนำ้าผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน
                                              รับประทานกรณีเป็นเลือด
             8.  นายสุข ไชยโย     อ.เมืองจันทร์  แก่นลั่นทม (ดอกสีขาว) 3 ส่วน เพชรสังฆาต 1 ส่วน ดอกบานไม่รู้โรย
                                              (สีขาว) ทั้งต้น 3 ส่วน ต้มดื่มก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ รับประทานเวลา
                                              เช้า เที่ยง และเย็น ต้มจนยาจืด
             9.  นายบุตรดี เมืองอินทร์    อ.กันทรลักษ์   ขนานที่ 1
                                              กำาแพงเจ็ดชั้น กำาลังวัวเถลิง (หรือกกตาไก่) ต้มดื่ม ก่อนหรือหลังอาหาร
                                              ก็ได้ เช้า เที่ยง และเย็น
                                              ขนานที่ 2
                                              แก่นบักม่วงแก้ว ต้นบักเย็น ต้มดื่ม ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ เวลาเช้า
                                              เที่ยง และเย็น
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137