Page 91 - journal-14-proceeding
P. 91

บทคัดยอประกวดผลงานวิชาการประจําปการแพทยแผนไทย การแพทยพื้นบาน และการแพทยทางเลือกแหงชาติ ครั้งที่ 14

                                      PPem27R การศึกษาประสิทธิผลการใชยาจันทลีลาของผูปวยที่มีอาการไขใน
                                      โรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตําบลบานในตําบลปากแพรก อําเภอดอนสัก
                                      จังหวัดสุราษฏรธานี ป พ.ศ. 2556



               ศิริรัตน  บุญสูง

               หลักการและเหตุผล ปจจุบันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็ว ไมวาจะเปนเรื่องเทคโนโลยีหรือแมกระทั่งการ

               ดําเนินชีวิตของผูคนก็มีการเปลี่ยนแปลงตามไปดวย ไมวาจะเปนชีวิตการทํางาน การรับประทานอาหาร การพักผอน ซึ่ง
               เปนปจจัยหนึ่งที่ทําใหเกิดการเจ็บปวยขึ้น ดวยเหตุนี้จึงทําใหผูคนเกิดการอาการไขซึ่งอาการไข หมายถึงสภาวะที่
               อุณหภูมิของรางกายสูงกวา 37 องศาเซลเซียส จะมีอาการรูสึกไมสบายตัว ผิวหนังรอนโดยเฉพาะบริเวณหนาผาก ลําตัว
               ซอกรักแรและขาหนีบ เปนตน สาเหตุของอาการไขเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และโปรโตซัวซึ่งกอใหเกิดอาการ

               ไขไดหลายชนิดเชน ไขหวัด ไขมาลาเรีย ไขจากแผล ฝหนองการกระตุนจากเหตุผิดปกติบางอยางในรางกายที่ไมใชการ
               ติดเชื้อ ปจจุบันกระทรวงสาธารณสุขประกาศรับรองยาจันทนลีลาไวในบัญชียาหลักเพื่อใชในระบบบริการสาธารณสุข ยา
               ตํารับจันทลีลา ประกอบไปดวยพืชสมุนไพร 8 ชนิดคือ ลูกกะดอม, โกศจุฬาลัมภา, โกฐสอ, โกฐเขมา, จันทรเทศ, จันทน
               แดง,บอระเพ็ดและปลาไหลเผือก ดังนั้นผูจัดทําวิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาประสิทธิผลการใชยาจันทลีลาของผูปวยที่

               มีอาการไขในโรงพยาบาลสงเริมสุขภาพตําบลบานใน  ตําบลปากแพรก อําเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฏรธานี เพื่อนํา
               ขอมูลไปใชใหเกิดประโยชนสูงสุด

               วัตถุประสงค เพื่อเปรียบเทียบอาการไขกอนและหลังการใชยาจันทลีลา

               วิธีดําเนินการ การวิจัยครั้งนี้เปนการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงคเพื่อเปรียบเทียบอาการไขของผูปวยที่มี
               อาการไขในโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตําบลบานใน ตําบลปากแพรก อําเภอดอนสัก  จังหวัดสุราษฎรธานี
               โดยกลุมตัวอยางในการศึกษาครั้งนี้เปนผูปวยที่มีอาการไข  จํานวน  30 คน เครื่องมือที่ใชในการศึกษาครั้งนี้
               ไดแกแบบสอบถาม โดยแบงออกเปน 4  สวน ไดแก ขอมูลทั่วไป   แบบบันทึกการตรวจรางกาย  แบบบันทึก

               อาการไข กอนและหลังใชจันทลีลา โดยมีการเก็บขอมูลระหวางวันที่ 1 – 30  ตุลาคม  2556 การวิเคราะห
               ขอมูลวิเคราะหโดยใช สถิติพรรณนา ไดแก  รอยละ คาเฉลี่ย  สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติวิเคราะห ไดแก
               paired t test  และ McNemar test


               ผลการศึกษา พบวาคาเฉลี่ยอุณหภูมิหลังการใชยาจันทลีลาลดลงต่ํากวากอนการใชยาจันทลีลารอยละของ
               อาการน้ํามูกไหลในกลุมตัวอยางหลังการใชยาจันทลีลาลดลง รอยละของอาการออนเพลียในกลุมตัวอยางหลัง
               การใชยาจันทลีลาลดลง และอาการปวดศีรษะหลังการใชยาจันทลีลาลดลง อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ สวนรอย
               ละของอาการอาเจียนในกลุมตัวอยางกอนและหลังการใชยาจันทลีลาและรอยละของอาการเบื่ออาหารในกลุม

               ตัวอยางกอนและหลังการใชยาจันทลีลาไมมีความแตกตางกัน

               ขอสรุป กลุมตัวอยางมีอาการไขดีขึ้นหลังใชยาจันทลีลาดังนั้นโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตําบลบานใน ควรมี
               การสนับสนุนการใชยาจันทลีลายาทดแทนการใชยาแผนปจจุบันเพื่อลดปริมาณการใชยาแผนปจจุบันที่มีตนทุน

               สูง  และควรมีการสนับสนุนพัฒนารูปแบบในการใชยาจันทลีลาในสถานบริการอยางตอเนื่องเพื่อใหยามี
               ประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น สงเสริมการใชยาจันทลีลาในประชาชนอยางครอบคุลมและควรศึกษาวิจัยเชิงทดลอง
               ในยาจันทลีลา โดยมีการศึกษาเปรียบเทียบการใชยาจันทลีลากับยาแผนปจจุบัน เพื่อเกิดความนาเชื่อถือในการ
               ใชยาจันทลีลาตอไป



                                                         89
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96