Page 93 - journal-14-proceeding
P. 93

บทคัดยอประกวดผลงานวิชาการประจําปการแพทยแผนไทย การแพทยพื้นบาน และการแพทยทางเลือกแหงชาติ ครั้งที่ 14

                                      PP60R2R0038 การนวดราชสํานักแบบผสมผสานรวมกับประคบสมุนไพร
                                      ตอการลดปวดสะโพกบริเวณสัญญาณ 1 และสัญญาณ 3 ขาดานนอก ในมารดา


                                      หลังคลอด

               อมรินทร  ชะเนติยัง
               งานแพทยแผนไทย โรงพยาบาลภูสิงห จังหวัดศรีสะเกษ

               หลักการและเหตุผล  ความปวดหลังคลอดเปนอาการที่พบไดบอยทางสูตินรีเวชวิทยา และประมาณครึ่งหนึ่ง
               ของสตรีวัยเจริญพันธุที่ตั้งครรภในชวงครรภแรกจะประสบกับปญหานี้ จากสถิติผูรับบริการในหองคลอดของ
               โรงพยาบาลภูสิงหปงบประมาณ 2558-2559 จํานวน 425 ราย พบวารอยละ 87 มารดาหลังคลอดในครรภ

               แรก ในชวงเวลา 1-2 วันหลังจากคลอดนั้นมีความปวดเกิดขึ้นในตําแหนงตางๆ ของรางกาย ทําใหเกิดความไม
               สุขสบาย สงผลกระทบตอการดูแลตนเองและเลี้ยงดูบุตร ดังนั้นการลดความปวดที่เกิดขึ้นในระยะหลังคลอด
               ดวยการนวดแบบราชสํานักรวมกับการประคบสมุนไพรจึงเปนทางเลือกหนึ่งที่นํามาใชกับอาการเหลานี้ได


               วัตถุประสงค เพื่อเปรียบเทียบผลกอนและหลังการลดความปวด ดวยนวดราชสํานักแบบผสมผสานรวมกับการ
               ประคบสมุนไพรตอการลดปวดสะโพกบริเวณสัญญาณ 1 และสัญญาณ 3 ขาดานนอก ในมารดาหลังคลอด


               วิธีดําเนินการ เปนการวิจัยกึ่งทดลอง one-group pre-post test คัดเลือกแบบเจาะจงจากกลุมมารดาหลัง
               คลอดในครรภแรกโดยการคลอดปกติ ไมมีภาวะแทรกซอนหลังคลอด อยูในสัปดาหแรกหลังคลอด  ไมแพ
               สมุนไพร  มีระดับคะแนนความปวดตั้งแต 5  คะแนนขึ้นไป ยินยอมรวมการทดลองดวยความสมัครใจ จํานวน
               30 ราย รวบรวมขอมูลระหวาง มีนาคม – ธันวาคม 2559 ใชแบบสอบถามประกอบดวย 2 สวน คือ สวนที่ 1

               ขอมูลทั่วไป สวนที่ 2 แบบประเมินคะแนนความปวดกอนและหลัง ระยะเวลา 1.30 ชั่วโมง/ครั้ง/ราย ทดลอง
               3  ครั้งในแตละรายหางกันวันเวน 1 วัน โดยตองไมไดรับการรักษาดวยวิธีการอื่น ราชสํานักแบบผสมผสาน
               ประกอบดวย 1)นวดพื้นฐานขาเปดประตูลม 2)นวดพื้นฐานหลังทานอน 3)นวดสัญญาณ 1,2,3 หลัง เนน
               สัญญาณ 1 และ 3 หลัง  4)นวดสัญญาณ 1,2,3,4,5 ขาดานนอก เนนสัญญาณ 1 และ 3 ขาดานนอก 5) นวด

               สัญญาณ 1,2,3,4,5 ขาดานในเนนสัญญาณ 1 และ 3 ขาดานใน 6) ประคบสมุนไพร วิเคราะหขอมูลโดยใชสถิติ
               เชิงพรรณนา เปรียบเทียบคาเฉลี่ยระดับความปวดกอน-หลัง และทดสอบคา Paired – Samples T – Test

               ผลการศึกษา พบวา คะแนนความปวดกอนทดลองสวนใหญอยูที  6  คะแนน 21 ราย คิดเปนรอยละ 70

               รองลงมา 7-9  คะแนน 9 ราย คิดเปนรอยละ 30 หลังทดลองมีคะแนนลดลงอยูที่ 4  คะแนน 8 ราย คิดเปน
               รอยละ 26.7 และ 1-2 คะแนน 22 ราย คิดเปนรอยละ 73.3 วิเคราะหความแตกตางระหวางกอนทดลองมีคา
               คะแนนความปวดเฉลี่ย 6.06 (SD.=1.08) หลังการทดลองเฉลี่ย 3.63 (SD.=0.89) เมื่อเปรียบเทียบ พบวา คา

               คะแนนเฉลี่ยความปวดลดลงเทากับ 2.4 คะแนน (95%CI:2.08 – 2.78) กลาวคือ หลังจากกลุมตัวอยางไดรับ
               การนวดราชสํานักแบบผสมผสานรวมกับประคบสมุนไพรแลว  ระดับความปวดสะโพกลดลงอยางมีนัยสําคัญ
               ทางสถิติ ( P–value <0.001)


               ขอสรุป การนวดราชสํานักแบบผสมผสานรวมกับประคบสมุนไพร สามารถบรรเทาความปวดที่เกิดขึ้นของ
               มารดาหลังคลอด และชวยฟนฟู สงเสริมสุขภาพ ของมารดาหลังคลอดในเขตโรงพยาบาลภูสิงหได






                                                         91
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98