Page 90 - journal-14-proceeding
P. 90

บทคัดยอประกวดผลงานวิชาการประจําปการแพทยแผนไทย การแพทยพื้นบาน และการแพทยทางเลือกแหงชาติ ครั้งที่ 14


                                      PPem26R การศึกษาผลของการนวดไทยแบบราชสํานักรวมกับการพอกสมุนไพร
                                      ตอการบรรเทาอาการปวดเขาจากโรคขอเขาเสื่อม


               สิตานัน หนอไชยวงค, อานัติ แซเฒา
               ศูนยการแพทยแผนไทยสารภี โรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม

               หลักการและเหตุผล โรคขอเขาเสื่อม คือโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมของขอเขา พบมากในผูสูงอายุ
               ปจจัยสําคัญในการเกิดโรคคือเพศ โดยเพศหญิงมีโอกาสเกิดโรคมากกวาเพศชาย ผูปวยจํานวนไมนอยตองการ
               รักษาโดยไมใชวิธีการทางแผนปจจุบัน เนื่องจากกังวลถึงผลขางเคียงหลังการรักษา จากรายงานการวินิจฉัยโรค

               แผนไทยตามลําดับการวินิจฉัยทั้งหมดของโรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม  ปงบประมาณ 2558 2559
               และ 2560  จัดอันดับโรคลมจับโปงแหงเขา ซึ่งเทียบเคียงกับโรคขอเขาเสื่อมของแพทยแผนปจจุบัน อยูใน
               ลําดับที่ 14 10 และ 9 ตามลําดับ แสดงใหเห็นวาผูปวยโรคขอเขาเสื่อมเพิ่มมากขึ้นในทุกป และมีแนวโนมวา
               จะเพิ่มสูงขึ้นอีกในปตอไป


               วัตถุประสงค เพื่อศึกษาผลการบรรเทาอาการปวดเขาในผูปวยโรคขอเขาเสื่อมดวยศาสตรการแพทยแผนไทย


               วิธีดําเนินการ เปนการศึกษาเชิงทดลองแบบ One-group pretest-posttest design กลุมตัวอยางที่ศึกษาคือ
               ผูปวยที่มารักษาที่ศูนยการแพทยแผนไทยสารภี โดยมีอาการปวดเขาจากโรคขอเขาเสื่อม จํานวน 30  ราย
               รักษาโดยการนวดไทยแบบราชสํานักและพอกยาสมุนไพร ครั้งละ 1  ชั่วโมง 15  นาทีสัปดาหละ 1 ครั้ง
               ติดตอกัน 5 สัปดาห รวมระยะเวลาในการรักษาทั้งหมด 5 ครั้ง เก็บขอมูลโดยใชแบบสอบถามขอมูลสวนบุคคล

               แบบประเมินระดับความรุนแรงของโรคขอเขาเสื่อม (Oxford  Knee  Score) แบบประเมินระดับความปวด
               (Visual analogue scale) และแบบประเมินระดับอาการของตนเอง (Patient’s global assessment)

               ผลการศึกษา พบวากลุมตัวอยางทั้งหมด 30  ราย ประกอบดวยเพศชายรอยละ 33.3  เพศหญิงรอยละ 66.7

               วิเคราะหขอมูลโดยสถิติ Paired  Sample T-test พบวาระดับความรุนแรงของโรคขอเขาเสื่อมลดลงอยางมี
               นัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) ระดับความปวดลดลงอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) และผูปวยมีความ
               พึงพอใจในระดับอาการของตนมากขึ้นอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ (p  <  0.05)  เมื่อสิ้นสุดการรักษาผูปวยมี

               ความรู ความเขาใจในการรักษาทางการแพทยแผนไทยเพิ่มขึ้น สามารถนําไปเผยแพรบอกกลาวใหกับผูสูงอายุ
               และคนในหมูบานที่มีอาการเชนเดียวกันใหมารักษาดวยวิธีทางการแพทยแผนไทยมากขึ้น

               ขอสรุป การนวดไทยแบบราชสํานักรวมกับการพอกสมุนไพรสามารถบรรเทาอาการปวดเขาจากโรคขอเขา

               เสื่อมไดอยางดี สรางเสริมสุขภาพของผูสูงอายุใหมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เปนทางเลือกสําหรับผูที่ตองการ

               หลีกเลี่ยงการใชยาเคมี การผาตัด หรือวิธีการรักษาทางการแพทยแผนปจจุบัน










                                                         88
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95