Page 86 - journal-14-proceeding
P. 86

บทคัดยอประกวดผลงานวิชาการประจําปการแพทยแผนไทย การแพทยพื้นบาน และการแพทยทางเลือกแหงชาติ ครั้งที่ 14


                                      PP60R2R0041 ผลของถุงยาสมุนไพรประคบเพื่อลดอาการปวดขอเขาในผูปวยโรค
                                      ขอเขาเสื่อม


                                           2
                             1
               ชุตินันท ขันทะยศ , กนกพร ปญญาดี
               1
                พยาบาลวิชาชีพชํานาญการ โรงพยาบาลนานอย จังหวัดนาน
               2 แพทยแผนไทยปฏิบัติการ โรงพยาบาลนานอย จังหวัดนาน
               หลักการและเหตุผล  โรคขอเขาเสื่อมเกิดจากความเสื่อมของกระดูกออนผิวขอทั้งทางดาน รูปราง โครงสราง การ

               ทํางานของกระดูกขอตอและกระดูกบริเวณใกลขอ เกิดมากในวัยสูงอายุซึ่งมีความเสื่อมของรางกายและอวัยวะตางๆ
               ขอมูลจากสํานักนโยบายและยุทธศาสตรพบวาแนวโนมโรคขอเขาเสื่อมมีอัตราการปวยที่เพิ่มขึ้นโดยป พ.ศ.2557-
               2558 มีอัตราปวย 46.68 และ57.10 ตอประชากรพันคน  เชนเดียวกับโรงพยาบาลนานอยผูปวยโรคขอเขาเสื่อมเขา
               รับบริการรักษาในป พ.ศ. 2557 มีอัตราปวยรอยละ 35.0 และป พ.ศ. 2559 มีอัตราปวยเพิ่มเปนรอยละ 37.0
               ตามลําดับ สวนใหญอาการปวดเขาทําใหเกิดความยากลําบากในการเคลื่อนไหว คุณภาพชีวิตลดลง เปนอุปสรรคใน
               การเขาสังคม สูญเสียเวลาและคาใชจายในการรักษา การใชยาปริมาณมากหรือการจัดการอาการปวดที่ไมเหมาะสม
               ซึ่งอาการปวดขอเขานี้สามารถที่จะบรรเทาไดโดยไมตองใชยา กิจกรรมการแพทยแผนไทยที่หลากหลายเปนอีกหนึ่ง
               ทางเลือกที่จะชวยบรรเทาความเจ็บปวดได  ผูศึกษามีความสนใจที่จะศึกษาและพัฒนาแนวทางการบําบัดรักษาผูปวย

               โรคขอเขาเสื่อม โดยการใชยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น ซึ่งเปนสมุนไพรใกลตัว หาไดงาย และมีอยูทั่วไปตามทองถิ่น

               วัตถุประสงค เพื่อศึกษาผลของถุงยาสมุนไพรประคบเพื่อลดอาการปวดขอเขาในผูปวยโรคขอเขาเสื่อม

               วิธีดําเนินการ งานวิจัยนี้เปนการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุม(Quasi-experimental research) เก็บขอมูลกอนและ
               หลัง กลุมตัวอยางเปนผูปวยไดรับวินิจฉัยวาเปนโรคขอเขาเสื่อม ตั้งแต 1 เดือนขึ้นไปและอยูในเขตรับผิดขอบของ
               โรงพยาบาลนานอย จํานวน 60 คน ไดรับการประคบดวยสมุนไพรที่เตรียมไวและนําไปแชในตูเย็นนาน 10-15 นาที

               แลวจึงนํามาบรรจุในถุงยาสมุนไพร ประคบขอเขาใหผูปวยนาน 30 นาที สัปดาหละ 1 ครั้ง ติดตอกัน 4 สัปดาห เก็บ
               รวบรวมขอมูลโดยใชแบบวัดความพึงพอใจและแบบประเมินความเจ็บปวด วิเคราะหขอมูลโดยใชสถิติเชิงพรรณนา
               และ paired t-test

               ผลการศึกษา ผลการศึกษาพบวาหลังการใชถุงยาสมุนไพรประคบขอเขาครบในสัปดาหที่ 4 ผูปวยโรคขอเขาเสื่อมมี
               คะแนนระดับความเจ็บปวดลดลงมากกวาเมื่อเทียบกับกอนการรักษาดวยการใชถุงยาสมุนไพรประคบเขา อยางมี
               นัยสําคัญทางสถิติ (p <0.001) สรุป การใชถุงยาสมุนไพรประคบขอเขาเปนอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาผูปวยโรคขอ

               เขาเสื่อม เพราะมีความสะดวก ปลอดภัย และชวยลดเวลาในการเดินทางมารับการรักษาที่โรงพยาบาล

               ขอสรุป ถุงยาสมุนไพรประคบขอเขาสามารถลดอาการปวดขอเขาได เปนอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาผูปวยโรคขอ
               เขาเสื่อม เปนการเพิ่มชองทางในการเขาถึงบริการสุขภาพ เปนการรักษาเบื้องตนแบบพึ่งพาตนเอง












                                                         84
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91