Page 85 - journal-14-proceeding
P. 85

บทคัดยอประกวดผลงานวิชาการประจําปการแพทยแผนไทย การแพทยพื้นบาน และการแพทยทางเลือกแหงชาติ ครั้งที่ 14


                                      PPem64R ผลการนวดเตานมและประคบสมุนไพรในการกระตุนการไหลของน้ํานม
                                      มารดาใน 48 ชั่วโมงหลังคลอด โรงพยาบาลกุดชุม จังหวัดยโสธร



               ปภาวรินทร คําภา
               โรงพยาบาลกุดชุม จังหวัดยโสธร

               หลักการและเหตุผล ปจจุบันศาสตรการแพทยแผนไทยมีบทบาทและมีความสําคัญในการดูแลสุขภาพมากขึ้น

               มารดาแรกคลอดโดยวิธีธรรมชาติมีปญหาน้ํานมไหลชาและไหลนอย สรางความวิตกกังวลใหกับคุณแมหลัง
               คลอด เนื่องจากความกลัวที่ลูกนอยไดรับน้ํานมไมเพียงพอจนกระทั่งหมดกําลังใจลมเลิก จากขอมูลสถิติของ
               งานอนามัยแมและเด็กโรงพยาบาลกุดชุมป 2558 พบปญหาน้ํานมไหลชาและไหลนอยในชวงพักฟนอยู

               โรงพยาบาลรอยละ 49.52 เนื่องดวยปญหาน้ํานมไหลชาและไหลนอยเปนภาวะเรงดวนในการสงเสริมการเลี้ยง
               ลูกดวยนมแม จึงเกิดเปนแนวคิดการศึกษาวิจัยการนวดเตานมและประคบสมุนไพรเพื่อแกปญหาและทําให
               มารดามีปริมาณน้ํานมเพิ่มขึ้น


               วัตถุประสงค เพื่อศึกษาผลการนวดเตานมและประคบสมุนไพรในการกระตุนการไหลของน้ํานมมารดา
               ใน 48 ชั่วโมงหลังคลอดโรงพยาบาลกุดชุม จังหวัดยโสธร

               ระเบียบวิธีวิจัย การศึกษาครั้งนี้เปนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) เลือกกลุมตัวอยางแบบเจาะจง

               จํานวนมารดา 61  ราย ตามคุณสมบัติทีกําหนดไว ระยะดําเนินการเดือน ต.ค. 2558  -  ก.ย. 2559
               ประกอบดวย 4 ขั้นตอน 1) วางแผน กลุมเปาหมายไดรับความรูเรื่องการนวดและการประคบสมุนไพร
               วิเคราะหสถานการณ วางแผนในการปฏิบัติการ 2) ขั้นปฏิบัติการตามแนวทางที่กําหนด โดยใชทฤษฎี
               การแพทยแผนไทยในเรื่องการนวดไทย การประคบสมุนไพรและลงมือปฏิบัติ 3) ขั้นสังเกตการณ โดยการ

               สังเกต ติดตาม บันทึกผลและประเมินผล 4) ขั้นสะทอนผลการปฏิบัติงาน โดยการอธิปรายกลุมรวมกัน  เปน
               การประเมินผลและรวมวางแผนปฏิบัติการครั้งตอไป  เก็บรวบรวมขอมูล เครื่องมือที่ใชในการวิจัย
               ประกอบดวยลูกประคบสมุนไพรขนาด 180 กรัม การเก็บรวบรวมขอมูลประกอบดวยแบบบันทึกขอมูลทั่วไป
               ของมารดาและทารกและแบบประเมินระดับการไหลของน้ํานมที่มีความเชื่อมั่นใจ 0.80  วิเคราะหขอมูลดวย

               สถิติรอยละ คาเฉลี่ย

               ผลการศึกษา พบวามารดาครรภแรกรอยละ 37.42  ที่น้ํานมไหลชาและน้ําหนักทารกแรกคลอดเฉลี่ย

               2,978.40 กรัม มีอายุในชวง 20-35 ป รอยละ 61.34 หลังสิ้นสุดการไดรับหัตถการ 2 ครั้ง/วัน การนวดเตานม
               10 นาทีและประคบสมุนไพร 20 นาที พบวาการหลั่งน้ํานมที่ระดับคะแนน 3 ของมารดารอยละ 100  มี
               ปริมาณเพิ่มขึ้น สงผลใหทารกมีปริมาณน้ํานมที่เพียงพอได


               ขอสรุปและเสนอแนะ การนวดและการประคบเตานมเพื่อกระตุนการไหลน้ํานมในมารดาหลังคลอดไดดี โดย
               ใชทฤษฎีการแพทยแผนไทยในเรื่องการนวดไทย การประคบสมุนไพร และมีการติดตามประเมินผลตอ เพื่อ
               สงเสริมใหมารดาหลังคลอดมีการหลั่งน้ํานมที่เร็วขึ้นและไดรับความปลอดภัยสูงสุด เปนแบบอยางให
               โรงพยาบาลอื่นๆ ในการบูรณาการผสมผสานระหวางการแพทยแผนไทยรวมกับการรักษาแผนปจจุบัน






                                                         83
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90