Page 151 - journal-14-proceeding
P. 151
บทคัดยอประกวดผลงานวิชาการประจําปการแพทยแผนไทย การแพทยพื้นบาน และการแพทยทางเลือกแหงชาติ ครั้งที่ 14
PPem60G การจําแนกทางสัณฐานวิทยากายวิภาควิทยา และทางเคมีดวยเครื่อง
HPTLC ของพืชสมุนไพรหามเลือดตานอักเสบและรักษาแผล 4 ชนิด ไดแก สาบเสือ
สาบหมา สาบแรงสาบกาและสาบแมว
3
1
4
1
2
หทัยชนก ปนดิษฐ , นรินทร พรินทรากุล , ภูมิ จันทรพรรัตน , จักรพงศ จันทวงศ , วันดี กฤษณพันธ
1
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม
2
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม
3 โรงเรียนหางดงรัฐราษฎรอุปถัมภ จังหวัดเชียงใหม
4
Phyto Product Research
หลักการและเหตุผล สาบเสือ (Chromolaena odorata L. R.M. King & H. Robinson) วงศ Asteraceae
เปนพืชสมุนไพรที่ใชหามเลือด ตานอักเสบและรักษาแผลในประเทศไทยมาเปนเวลานาน จากรายงานการวิจัย
ของหทัยชนก ปนดิษฐและคณะ ไดมีการพิสูจนฤทธิ์ทางชีวภาพดังกลาวทั้งในระดับหลอดทดลองและหนู
ทดลอง และหากลไกการออกฤทธิ์ในระดับโมเลกุล โดยพบวาสารสกัดใบแหงของสาบเสือที่ไดจากการหมักดวย
70% เอทานอล มีฤทธิ์ดีที่สุด โดยมีสาร scutellarein tetramethyl ether ซึ่งเปนสารกลุมฟลาโวนอยดเปน
สารออกฤทธิ์หลัก ดังนั้นสาบเสือจึงเปนพืชที่สามารถสงเสริมใหเกิดการนําไปพัฒนาเปนผลิตภัณฑหามเลือด
ตานอักเสบและรักษาแผลเชิงการคาได นอกจากสาบเสือแลว ยังมีพืชสมุนไพรอีกสามชนิดที่อยูในวงศเดียวกัน
ไดแก สาบหมา (Ageratina adenophora (Sprengel) R.M. King and H. Rob.), สาบแรงสาบกา
(Ageratum conyzoides L.) และสาบแมว (Praxelis clematidea (Griseb.) R.M. King & H. Robinson)
ยังถูกนํามาใชในการออกฤทธิ์เชนเดียวกัน แตดวยลักษณะทางกายภาพที่คลายคลึงกันมาก จึงอาจทําใหเกิด
ความสับสนในการเก็บตัวอยาง ซึ่งสงผลตอการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑจากสาบเสือได
วัตถุประสงค เพื่อหาวิธีในการจําแนกพืชสมุนไพรหามเลือดทั้ง 4 ชนิด ทั้งทางดานสัณฐานวิทยา กายวิภาค
วิทยา และทางเคมี
วิธีการดําเนินงาน เก็บตัวอยางสาบเสือ สาบหมา สาบแรงสาบกา และสาบแมว ในบริเวณจังหวัดเชียงใหม
ลําพูน และเชียงราย จํานวน 5 หรือ 10 แหลง นําพืชสดมาศึกษาทางดานสัณฐานวิทยาและกายภาควิทยา
และทําการสกัดใบพืชแหง ดวยการหมักใน 70% เอทานอล และนําไปศึกษาเอกลักษณทางเคมีดวย TLC-
densitometry เปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน scutellarein tetramethyl ether โดยใชระบบตัวทําละลาย
hexane:ethyl acetate 2:3
ผลการศึกษา พืชทั้ง 4 ชนิดมีลักษณะทางสัณฐานวิทยาและเอกลักษณทางเคมีของสารสกัดใบที่แตกตางกัน
อยางชัดเจน และมีเพียงสาบเสือและสาบแมวเทานั้นที่มีสาร scutellarein tetramethyl ether เปน
องคประกอบสําคัญ ดังนั้นฤทธิ์หามเลือด ตานอักเสบและรักษาแผลของสาบแมว อาจเนื่องมาจากการมีสาร
ออกฤทธิ์ชนิดเดียวกันกับสาบเสือ
ขอสรุป สามารถจําแนกชนิดของพืชหามเลือดทั้ง 4 ชนิดไดโดยการใชลักษณะทางสัณฐานวิทยาและเอกลักษณ
ทางเคมีได ทั้งนี้การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพและปริมาณสารออกฤทธิ์ในสารสกัดสาบแมว รวมทั้งการหาสาร
ออกฤทธิ์ในสารสกัดสาบหมาและสาบแรงสาบกายังคงตองมีการศึกษาตอไป งานวิจัยนี้จะเปนพื้นฐานขอมูลอัน
ดียิ่งตอการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑจากสาบเสือ ซึ่งนอกจากจะเปนการกําจัดวัชพืชดังกลาว ยังสามารถสราง
มูลคาเพิ่มใหกับพืชสมุนไพรของไทยไดอีกดวย
149