Page 146 - journal-14-proceeding
P. 146
บทคัดยอประกวดผลงานวิชาการประจําปการแพทยแผนไทย การแพทยพื้นบาน และการแพทยทางเลือกแหงชาติ ครั้งที่ 14
PP60G0056 ฤทธิ์ตานอนุมูลอิสระตานเอนไซมไทโรซิเนสและการกระตุนการเจริญ
ของเซลลผิวหนังและเซลลรากผมของสารสกัดจากใบเชียงดา
1
1
วรรณิศา วิชิต , นิสากร แซวัน , กฤษณ แจงจรัส 2
1
สํานักวิชาวิทยาศาสตรเครื่องสําอาง มหาวิทยาลัยแมฟาหลวง
2 บริษัท เอ็ม.วาย.อาร. คอสเมติคส โซลูชั่น จํากัด
หลักการและเหตุผล ในปจจุบันตลาดเครื่องสําอางกําลังตองการผลิตภัณฑที่มาจากธรรมชาติและมี
ประสิทธิภาพดี ทําใหพืชสมุนไพรไทยถูกนํามาศึกษาฤทธิ์ตานอนุมูลอิสระ ตานเอนไซมไทโรซิเนส และการ
กระตุนการเจริญของเซลลผิวหนังและรากผม เพื่อตอบโจทยความตองการของเครื่องสําอางในการชวยทําใหผิว
กระจางใส ฟนฟูเซลลผิว ลดเลือนริ้วรอย ชะลอความชราและปองกันผมรวง ผักเชียงดา (Gymnema
inodorum (Lour.) Decne.) เปนพืชสมุนไพรที่ถูกใชเปนอาหารและยาของคนไทยทางภาคเหนือและอีสานมา
นาน เนื่องจากมีฤทธิ์ในการลดระดับน้ําตาลในเลือดได อยางไรก็ตามยังไมมีการศึกษาประสิทธิภาพของผักเชียง
ดาเพื่อใชเปนสารออกฤทธิ์ทางเครื่องสําอาง
วัตถุประสงค ศึกษาผลของตัวทําละลายในการสกัดใบเชียงดาตอปมาณสารประกอบฟนอลิค ฤทธิ์ตานอนุมูล
อิสระและตานเอนไซมไทโรซิเนส และศึกษาประสิทธิภาพในการกระตุนการเจริญของเซลลผิวหนังและเซลล
รากผมเพาะเลี้ยงในหลอดทดลอง เพื่อประเมินความเปนไปไดในการนําสารสกัดจากใบเชียงดาไปใชใน
ผลิตภัณฑเครื่องสําอาง
วิธีดําเนินการ ศึกษาตัวทําละลาย 6 ชนิด ไดแก น้ํา, พรอพีลีนไกลคอล, เอทานอล, 50 % พรอพีลีนไกลคอล
ในน้ํา, 50 % เอทานอลในน้ําและ 50 % เอทานอลในพรอพีลีนไกลคอลในการสกัดใบเชียงดา จากนั้น
ตรวจสอบปริมาณสารประกอบฟนอลิค ดวยวิธี Folin Ciocalteu ฤทธิ์ตานอนุมูลอิสระ ดวยวิธี Ferric
reducing power (FRAP) และ DPPH radical scavenging activity (DPPH) ฤทธิ์ตานเอนไซมไทโรซิเนส
ดวยวิธี L-Dopa assay และการกระตุนการเจริญของเซลลผิวหนังและรากผม ดวยวิธี MTT assay
ผลการศึกษา สารสกัดจากใบเชียงดามีปริมาณสารประกอบฟนอลิก 0.15 – 0.74 mg GAE/ml extract โดย
ตัวทําละลายที่ใหสารสกัดที่มีฤทธิ์ตานอนุมูลอิสระและเอนไซมไทโรซิเนสมากที่สุด คือ 50 % พรอพีลีนไกล
คอลในน้ํา (FRAP 0.20±0.01 mg AAE/ml extract, DPPH 96.89±1.31 % และ Anti-tyrosinase
79.09±2.25 %) นอกจากนี้สารสกัดจากใบเชียงดายังสามารถกระตุนการเจริญของเซลลผิวหนังเคราติโนไซต
ได 10.14±2.01 %, เซลลไฟโบรบลาสตได 6.87±1.69 % และเซลลรากผมเพาะเลี้ยงในหลอดทดลองได
8.64±2.59 % อีกดวย
ขอสรุป สารสกัดจากใบเชียงดาดวย 50 % พรอพีลีนไกลคอลในน้ํา มีฤทธิ์อนุมูลอิสระและเอนไซม
ไทโรซิเนสสูง อีกทั้งยังสามารถกระตุนการเจริญของเซลลผิวหนังและเซลลรากผมเพาะเลี้ยงในหลอดทดลองได
ดังนั้นสารสกัดดังกลาวสามารถนํามาประยุกตในเครื่องสําอางชะลอความชรา ชวยทําใหผิวกระจางใส ฟนฟู
เซลลผิวและปองกันผมรวง
144