Page 148 - journal-14-proceeding
P. 148
บทคัดยอประกวดผลงานวิชาการประจําปการแพทยแผนไทย การแพทยพื้นบาน และการแพทยทางเลือกแหงชาติ ครั้งที่ 14
PP60G0059 การศึกษาเปรียบเทียบองคประกอบทางเคมีเบื้องตนของรากตองแตก
กอนและหลังการแปรสภาพ โดยวิธีโครมาโตกราฟของเหลวสมรรถนะสูง (HPLC
finger print)
จิตรลดา คงคํา, อดิสรณ คงคํา, นฤทัย คิดอาน, พัชรภรณ บุรีมาศ
หนวยปฏิบัติการวิจัยการแพทยแผนเดิม คณะแพทยศาสตร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หลักการและเหตุผล ตองแตก [Baliospermum solanifolium (Burm.) Suresh] เมื่อใชสวนรากเปนเครื่อง
ยามีสรรพคุณแกพรรดึก เปนยาถาย ยาระบาย มีการใชในตํารับยาหลายตํารับในคัมภีรทางการแพทยแผนไทย
โดยเฉพาะคัมภีรกษัย คัมภีรอุทรโรค คัมภีรธาตุบรรจบ เปนตน จากการศึกษาพบวารากตองแตกมี
องคประกอบหลักเปนสารกลุมฟลาโวนอยด ฟนอลิก และเทอรพีนอยดเปนหลัก และมีสารสําคัญกลุม
phorbol ester ซึ่งมีผลทางชีวภาพในการกระตุนการเกิดมะเร็ง การเพิ่มจํานวนเซลล ทําใหลิมโฟไซทแบงตัว
ผิวหนังอักเสบ บวมแดง การจะนําเครื่องยาที่มีฤทธิ์แรงมาใชทางการแพทยแผนไทยมีวิธีการในการนํามาแปร
สภาพกอนปรุงยา เชน การฆาฤทธิ์ ในการศึกษานี้จึงเปนการศึกษาผลจากการแปรสภาพรากตองแตกดวยวิธี
โครมาโทกราฟของเหลวสมรรถนะสูง (HPLC)
วัตถุประสงค เพื่อศึกษาเปรียบเทียบรอยพิมพลายนิ้วมือทางโครมาโตกราฟของเหลวสมรรถนะสูง (HPLC
finger print) และปริมาณสารสําคัญในรากตองแตกกอนและหลังการแปรสภาพทั้ง 3 วิธี
วิธีดําเนินการ เปนการศึกษาแบบการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) โดยนําตัวอยางสมุนไพร
รากตองแตกมาทําการแปรสภาพ 3 วิธี คือ วิธีที่ 1 (ใชสุราผสม 28 ดีกรี), วิธีที่ 2 (สุราขาว 40 ดีกรี) และวิธีที่
3 (แอลกอฮอลรอยละ 95) และผานกระบวนการดวยการคั่ว หลังจากนั้นตรวจสอบองคประกอบทางเคมีของ
สารสกัดดวยเมทธานอล กอน และหลังการแปรสภาพดวยวิธีโครมาโทกราฟของเหลวสมรรถนะสูง (High
Performance Liquid Chromatography; HPLC) เพื่อเปรียบเทียบองคประกอบทางเคมี
ผลการศึกษา จากผล HPLC โครมาโตแกรมพบวาสารสกัดรากตองแตกกอนการแปรสภาพมีพีคหลัก 8 พีค
จากการทดลองพบวาวิธีที่ 2 สามารถลดพื้นที่ใตกราฟซึ่งหมายถึงปริมาณขององคประกอบทางเคมีในราก
ตองแตกไดมากที่สุด คิดเปนลดลงรอยละ 36.06 รองลงมาคือ วิธีที่ 1 ลดลงรอยละ 22.90 และวิธีที่ 3 ลดได
รอยละ 14.67 โดยหลังการแปรสภาพพบมีพีคใหมเพิ่มขึ้นในทุกวิธีการแปรสภาพ
ขอสรุป จากผลการศึกษาสามารถสรุปไดเบื้องตนวาวิธีการแปรสภาพรากตองแตกกอนนําไปใช คือ การใชสุรา
ขาว 40 ดีกรีเปนสวนประกอบในการแปรสภาพเปนวิธีที่สามารถลดปริมาณองคประกอบทางเคมีไดมากที่สุด
โดยปจจัยที่ทําใหองคประกอบทางเคมีในรากตองแตกลดลงไดอาจเกิดจากการชะออกดวยตัวทําละลายที่มีขั้ว
และความรอน รวมถึงการเกิดปฏิกิริยากันในกระบวนการแปรสภาพสามารถทําใหมีสารใหมเกิดขึ้นได ทั้งนี้มี
ความนาสนใจในการศึกษาตอไปถึงสารที่เกิดขึ้นใหมหลังการแปรสภาพ รวมไปถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
146