Page 156 - journal-14-proceeding
P. 156

บทคัดยอประกวดผลงานวิชาการประจําปการแพทยแผนไทย การแพทยพื้นบาน และการแพทยทางเลือกแหงชาติ ครั้งที่ 14


                                   PPem50G การเปรียบเทียบผลของการสูดดมยูคาลิปตัสและหอมแดงดวยไอน้ํารอน
                                   ตออาการคัดจมูกในผูปวยโรคหวัด



                                                                                              2
                                                        1
                                                                             1
                                     1
               วรางคณา  อาภรณชยานนท , วรางคณา  ศรีผดุงอําไพ , ณัฐิยา  หาญประเสริฐพงษ , สายสวาท  ไชยเศรษฐ
               1                                       2
                ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม,  ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม

               หลักการและเหตุผล  การสูดดมไอน้ํารอนเพียงอยางเดียวหรือผสมยูคาลิปตัสเปนวิธีที่นิยมใชกันอยาง
               แพรหลายเพื่อบรรเทาอาการคัดจมูกจากโรคหวัด  ในประเทศไทย การแพทยทางเลือกแนะนําใหสูดดมไอ
               ระเหยของหอมแดงเพื่อบรรเทาอาการ อยางไรก็ตาม ยังขาดขอมูลทางคลินิกเพื่อสนับสนุนประสิทธิผลของ
               หอมแดงตอการคัดจมูกในผูปวยโรคหวัด ดังนั้นหากมีการวิจัยเชิงทดลองแบบสุมไปขางหนาและมีกลุมควบคุม
               (Randomized prospective controlled trial) ซึ่งเปรียบเทียบประสิทธิผลของการสูดดมไอน้ํารอนโดยผสม

               ยูคาลิปตัสหรือหอมแดง ผลการวิจัยที่ไดยอมมีประโยชนตอการนํามาประยุกตใชรักษาอาการจากโรคหวัดของ
               ผูปวยตอไป

               วัตถุประสงค เพื่อศึกษาผลและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการสูดดมยูคาลิปตัสและหอมแดงดวยไอน้ํารอน

               ตออาการคัดจมูกในผูปวยโรคหวัด

               วิธีดําเนินการ งานวิจัยนี้เปนการศึกษาแบบสุมเก็บขอมูลไปขางหนา  ผูปวยโรคหวัดที่มีอาการคัดจมูกจะสูดดม
               ยูคาลิปตัสหรือหอมแดงดวยไอน้ํารอนอยางตอเนื่องเปนเวลา 10 นาที  ผูวิจัยประเมินแรงตานทานในจมูกของ

               ผูปวยแตละรายโดยใชเครื่องมือไรโนมาโนเมตรีทั้งกอนและหลังสูดดมไอระเหยเปนเวลา 40 นาที และประเมิน
               อาการคัดจมูกของผูปวย โดยใหผูปวยใหคะแนนความรุนแรงของอาการคัดจมูกดวยตนเอง  มีผูปวยจํานวน 37
               รายเขารวมในงานวิจัย  ประกอบดวยผูปวย 19 รายในกลุมสูดดมยูคาลิปตัส และ 18 รายในกลุมสูดดม
               หอมแดง


               ผลการศึกษา พบวาภายหลังสูดดม อาการคัดจมูกดีขึ้นในผูปวยทั้งสองกลุมอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ
               (p<0.001) แตไมมีความแตกตางกันระหวางการสูดดมยูคาลิปตัสและหอมแดง  คาเฉลี่ยของคะแนนอาการคัด

               จมูกลดลงจาก 54.44 + 10.42 % เปน 40.50 + 14.94 % ในกลุมผูปวยที่สูดดมยูคาลิปตัส  และคะแนน
               ลดลงจาก 55.72  +  10.59  % กลายเปน 39.72  +  13.17 % ในกลุมที่สูดดมหอมแดง   ในขณะที่คาแรง
               ตานทานในจมูกของผูปวยเพิ่มขึ้นจากเดิมเล็กนอยโดยไมพบความแตกตางอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ  ผูปวยโรค
               หวัดที่สูดดมยูคาลิปตัสมีคาเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงของแรงตานทานในจมูกเพิ่มขึ้นประมาณ 0.09 + 0.29
               ปาสคาลตอลูกบาศกเซนติเมตรตอวินาที และผูปวยที่สูดดมหอมแดงมีคาเฉลี่ยแรงตานทานในจมูกเพิ่มขึ้น

               0.11 + 0.22 ปาสคาลตอลูกบาศกเซนติเมตรตอวินาที ทั้งนี้ ไมพบผลขางเคียงรุนแรงจากการสูดดมทั้งสองวิธี

               ขอสรุป ผลของการสูดดมหอมแดงดวยไอน้ํารอนตอการคัดจมูกในผูปวยโรคหวัดไมแตกตางจากการสูดดมยูคา

               ลิปตัส ทั้งสองวิธีมีความปลอดภัยและสงผลทําใหผูปวยรูสึกจมูกโลงขึ้นใกลเคียงกันจึงอาจใชหอมแดงทดแทนยู
               คาลิปตัสซึ่งมีราคาแพงกวาได อยางไรก็ตามแมวาการสูดดมยูคาลิปตัสและหอมแดงดวยไอน้ํารอนชวยบรรเทา

               อาการคัดจมูกจากโรคหวัดได แตทั้งสองวิธีไมลดแรงตานทานในจมูกอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ



                                                         154
   151   152   153   154   155   156