Page 149 - journal-14-proceeding
P. 149

บทคัดยอประกวดผลงานวิชาการประจําปการแพทยแผนไทย การแพทยพื้นบาน และการแพทยทางเลือกแหงชาติ ครั้งที่ 14


                                   PPem40G ผลกระทบของอุณหภูมิในการเก็บสารสกัดจากรากหนอนตายหยากตอ

                                   ฤทธิ์กําจัดหนอนแมลงวันบาน


                                                                                  1,5
                              1, 2
                                               3
                                                                    4
               อรภา สกุลพาณิชย , สิริลักษณ อัตระผดุง , พจวรรณ ลาวัณยประเสริฐ , วันดี กฤษณพันธ
               1
                ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร มหาวิทยาลัยมหิดล447 ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
               2  สาขาวิชาวิทยาศาสตรเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร 99 หมู 18 อําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12121
               3
                 ภาควิชากีฏวิทยาการแพทย คณะเวชศาสตรเขตรอน มหาวิทยาลัยมหิดล 420/6 เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
               4  ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร มหาวิทยาลัยมหิดล 447 ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
               5
                Phyto Product Research 165 ซอยสุวรรณดี 3 ถนนริมคลองประปา  เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800

               หลักการและเหตุผล รากพืชหนอนตายหยากใชเปนสารกําจัดแมลงมาตั้งแตสมัยโบราณและมีรายงานการวิจัย
               ยืนยันวาสารสกัดจากรากหนอนตายหยากมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของหนอนกระทู หนอนใยผัก และ
               สามารถกําจัดแมลงวันหลังลายได แตเนื่องดวยอุณหภูมิมีผลตอฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากพืช ดังนั้นจึง

               ควรมีการศึกษาผลของอุณหภูมิตอฤทธิ์กําจัดหนอนแมลงวันบานของสารสกัดจากรากหนอนตายหยากซึ่ง
               ผลการวิจัยที่ไดจะเปนประโยชนในการจัดเก็บสารสกัดจากรากหนอนตายหยากใหเหมาะสม เพื่อใหคงฤทธิ์ใน
               การกําจัดแมลงไดนาน

               วัตถุประสงค เพื่อศึกษาฤทธิ์ในการกําจัดหนอนแมลงวันบานของสารสกัดจากรากหนอนตายหยากเมื่อเก็บสาร
               สกัดไวที่อุณหภูมิตาง ๆ


               วิธีดําเนินการ ชั่งสารสกัดจากรากหนอนตายหยาก  1 กรัม ใสในขวดพลาสติก HDPE ที่มีฝาปดสนิทแลวนํา

               ขวดดังกลาวไปเก็บไวที่อุณหภูมิ 10, 30, 40, 60 และ 80 องศาเซลเซียส นาน 3 วัน เมื่อครบกําหนดเวลา เติม
               เอทานอลความเขมขน70%  ลงไปในขวดเพื่อละลายสารสกัดแลวนําสารละลายดังกลาวมาทดสอบฤทธิ์ฆา
               แมลงวันโดยหยดสารสกัดลงบนดานบน (Dorsal) ของหนอนแมลงวันบานระยะที่สาม สวนกลุมควบคุมแบบ
               ลบ ใชน้ําหยดลงบนหนอนแมลงวันแทนสารละลายสารสกัดหนอนตายหยากแลวตรวจสอบการตายของหนอน

               แมลงวันบานทุกวันนาน 10  วันและในวันที่ 10 ของการทดลองนับจํานวนดักแดที่ไมสามารถเจริญไปเปน
               แมลงวันตัวเต็มวัย แลวคํานวณอัตราการตายของหนอนแมลงวัน หลังจากนั้นนําอัตราการตายมาปรับคาโดยใช
               Abbott’s formula จะไดรอยละการตายที่แทจริง (% Corrected mortality)

               ผลการศึกษา สารสกัดที่เก็บที่อุณหภูมิ 10, 30, 40, 60 และ 80 องศาเซลเซียส นาน 3 วัน ทําใหหนอน
               แมลงวันตายไดรอยละ 96±4, 93±3, 93±7, 91±4 และ 82±1 ตามลําดับ หนอนแมลงวันบานที่ไดรับสารสกัด

               สามารถเจริญไปเปนดักแดไดแตมีลําตัวผิดปกติโดยมีลักษณะเปนขอปลองและไมสามารถฟกออกมาเปน
               แมลงวันตัวเต็มวัยไดซึ่งแตกตางจากหนอนแมลงวันบานที่ไดรับน้ําโดยดักแดมีรูปรางคลายถังเบียรหัวทายมน
               สามารถพัฒนาและอยูรอดไปเปนแมลงวันบานตัวเต็มวัยได

               ขอสรุป  สภาวะการเก็บสารสกัดหนอนตายหยากที่อุณหภูมิตางๆ สงผลตอฤทธิ์กําจัดหนอนแมลงวันบานโดย
               เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นฤทธิ์กําจัดหนอนแมลงวันบานของสารสกัดหนอนตายหยากจะลดลง ดังนั้นจึงควรเก็บสาร

               สกัดจากรากหนอนตายหยากไวที่อุณหภูมิต่ํากวา 30 องศาเซลเซียส เนื่องจากที่อุณหภูมิดังกลาวแสดงอัตราาร
               ตายของหนอนแมลงวันบานไดมากกวารอยละ 95 และที่อุณหภูมิต่ํายังชวยคงสภาพทางกายภาพของสารสกัด
               จากรากหนอนตายหยากอีกดวย



                                                         147
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154