Page 63 - วารสารการแพทย์แผนไทย ปีที่ 21 ฉบับที่ 2
P. 63
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2566 Vol. 21 No. 2 May-August 2023
นิพนธ์ต้นฉบับ
การศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของสารสกัดตำารับยาเบญจอำามฤตย์
ในผู้ป่วยโรคมะเร็งเซลล์ตับ: การศึกษาทางคลินิกระยะที่ 2
มณฑกา ธีรชัยสกุล , ธนุตม์ ก้วยเจริญพานิชก์ , นิยม ชีพเจริญรัตน์ , ชุลีพร ทองบ่อ ,
‡
‡
†
*,#
กมลวรรณ บานชื่น , วิวรรณ วรกุลพาณิชย์ , ธวัชชัย กมลธรรม ¶
*
§
กองสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ตำาบลตลาดขวัญ
*
อำาเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา ตำาบลขามใหญ่ อำาเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000
†
โรงพยาบาลยโสธร ตำาบลตาดทอง อำาเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร 35000
‡
สำานักงานวิจัยการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ตำาบลตลาดขวัญ
§
อำาเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ตำาบลบางแก้ว อำาเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม 75000
¶
ผู้รับผิดชอบบทความ: monthaka.t@gmail.com
#
บทคัดย่อ
บทน�ำและวัตถุประสงค์: โรคมะเร็งตับเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่ส�าคัญของประชากรทั่วโลกรวมถึง
ประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีการใช้ยาสมุนไพรไทย “เบญจอ�ามฤตย์” ร่วมรักษาแบบบูรณาการแก่ผู้ป่วยมะเร็งตับโดย
แพทย์แผนไทย ณ สถานพยาบาลของรัฐ แต่ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาทางคลินิกเพื่อยืนยันประสิทธิผลของต�ารับยาเบญจ
อ�ามฤตย์ การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสารสกัดต�ารับยาเบญจอ�ามฤตย์ต่ออัตราการรอด
ชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งตับ
วิธีกำรศึกษำ: การศึกษาวิจัยทางคลินิกระยะที่ 2 แบบสุ่ม มีกลุ่มควบคุมและปกปิดสองทาง ในผู้ป่วยมะเร็ง
เซลล์ตับที่มี Child-Pugh score class A หรือ B ที่ไม่สามารถรับการรักษามาตรฐานได้ โดยใช้อัตราส่วนกลุ่มทดลองที่
ได้รับสารสกัดต�ารับยาเบญจอ�ามฤตย์ต่อกลุ่มควบคุมที่ได้รับยาหลอกที่ 2 ต่อ 1 อาสาสมัครทั้งสองกลุ่มได้รับขนาดยา
ตามน�้าหนักตัวตลอดระยะเวลาวิจัย ติดตามผลทั้งสิ้น 5 ครั้ง ทุก 28 วัน เป็นเวลาทั้งหมด 140 วัน ประเมินอัตราการ
รอดชีวิต อาการทางคลินิก คุณภาพชีวิต (Thai Modified Function Living Index Cancer Questionnaire Version 2
(T-FLIC 2)) วิเคราะห์ผลแบบ Intention to treat (ITT) ด้วยสถิติ Kaplan-Meier method, log-rank test, Cox proportional
hazard model, Mann Whitney U Test, Chi-square test หรือ Fisher’s exact test, Generalized Estimating Equations
(GEE) หรือ Multi-level model (Mixed model) ด้วยโปรแกรม STATA version 14
ผลกำรศึกษำ: พบว่ามีผู้เข้าร่วมวิจัย 45 ราย (จาก 81 ราย; อัตราส่วน 32:13) ที่อยู่ในกระบวนการทดลองจน
จบ เมื่อสิ้นสุดการศึกษา (12 เดือน) มีผู้เข้าร่วมวิจัย 40 รายเสียชีวิต (88.89%) แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมจ�านวน 13 ราย
(ร้อยละ 100) และกลุ่มทดลองจ�านวน 27 ราย (ร้อยละ 84.38) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบทั้งสองกลุ่มพบว่าอัตรารอดชีวิตไม่
ต่างกัน (crude hazard ratio (HR) = 0.67, 95% CI = 0.34-1.31)
Received date 06/01/23; Revised date 04/04/23; Accepted date 04/08/23
279