Page 62 - J Trad Med 21-1-2566
P. 62
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2566
Vol. 21 No. 1 January-April 2023
42 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2566
นิพนธ์ต้นฉบับ
การตรวจคัดกรองโรคลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 4 หลัง: การเปรียบเทียบ
ระหว่างการตรวจร่างกายผู้ป่วยทางหัตถเวชกรรมไทยกับการตรวจ
ทางรังสีวินิจฉัย
ณรงค์ศักดิ์ จันทะวัง , ปฏิคม พาสว่าง , อำาภา คนซื่อ , รัฐ สอนสุภาพ , นิรันดร์ อินทรัตน์ ‡
*
*
*,§
†
* หน่วยวิจัยการแพทย์ไทยเดิม สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 44000
† แผนกรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 44000
‡ สาขาศาสตร์ระบบสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 44000
§ ผู้รับผิดชอบบทความ: narongsak.c@msu.ac.th
บทคัดย่อ
การตรวจร่างกายทางหัตถเวชกรรมไทยระบุว่าการตรวจผู้ป่วยโรคลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 4 หลัง ด้วยการเงย
หน้ามองเพดานแล้วพบโหนกแก้มข้างที่เป็นโรคสูงกว่าข้างปกติ สันนิษฐานว่าเกิดจากหินปูนเกาะกระดูกต้นคอ แต่
ถ้าโหนกแก้มข้างที่เป็นโรคต�่ากว่าข้างปกติสันนิษฐานว่าเกิดจากการทรุดตัวของกระดูกต้นคอ การวิจัยนี้เป็นการศึกษา
เชิงทดสอบวินิจฉัย เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีการพยากรณ์โรคทางหัตถเวชกรรมไทยกับผลการตรวจทาง
รังสีวินิจฉัย โดยท�าการประเมินองศาการเงยหน้า ด้วยเครื่องมือวัดมุม ในผู้ป่วยโรคลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 4 หลัง
จ�านวน 183 ราย แล้วท�าการระบุว่าโหนกแก้มข้างที่เป็นโรคสูงหรือต�่ากว่าข้างปกติแล้วน�าส่งผู้ป่วยไปท�าการตรวจทาง
รังสีวินิจฉัย ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยจ�านวน 86 ราย (ร้อยละ 47) ได้รับการประเมินว่าโหนกแก้มข้างที่เป็นโรคสูงกว่า
ข้างปกติ ขณะที่ 97 ราย (ร้อยละ 53) ระบุว่าโหนกแก้มข้างที่เป็นโรคต�่ากว่าข้างปกติ ผลการตรวจทางรังสีวินิจฉัยพบ
พยาธิสภาพจากภาวะกระดูกคอเสื่อม จ�านวน 167 ราย (ร้อยละ 91.25) ผลวิเคราะห์การทดสอบวินิจฉัยพบค่าความไว
และค่าความแม่นย�า ที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างโรคกับภาวะกระดูกคอเสื่อมร้อยละ 91.25 ขณะที่ผลการตรวจระดับ
ความสูงของปล้องกระดูกสันหลังพบว่าสมมาตรกัน ทุกราย (ร้อยละ 100) โดยตรวจไม่พบภาวะหินปูนเกาะกระดูก
คอหรือภาวะกระดูกคอทรุดในผู้ป่วยที่ระบุว่าโหนกแก้มข้างที่เป็นโรคสูงกว่าข้างปกติ และโหนกแก้มข้างที่เป็นโรค
ต�่ากว่าข้างปกติตามล�าดับ แม้การตรวจองศาการเงยหน้าจะพบความแตกต่างของระดับโหนกแก้มระหว่างข้างที่เป็น
โรคเมื่อเปรียบเทียบกับข้างปกติก็ตาม ผลการศึกษานี้สรุปได้ว่า ความแตกต่างของระดับโหนกแก้มที่ตรวจพบในผู้
ป่วยโรคลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 4 หลัง ไม่สัมพันธ์กับระดับความสูงของปล้องกระดูกสันหลังจากการตรวจทาง
รังสีวินิจฉัย
ค�ำส�ำคัญ: การนวดราชส�านัก, โรคลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 4 หลัง, รังสีวินิจฉัย
Received date 30/06/22; Revised date 29/12/22; Accepted date 03/04/23
42