Page 113 - J Trad Med 21-1-2566
P. 113

J Thai Trad Alt Med                                    Vol. 21  No. 1  Jan-Apr  2023  93




            ตารางที่ 1  รูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายด้วยการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร

                        ระยะ                                  กิจกรรมการดูแล
            ขั้นที่ 1 : ระยะแรกรับ        - แพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทยแจ้งแนวทางการรักษาให้กับผู้ป่วย
            การแจ้งแนวทางการรักษา           และญาติ
                                          - ผู้ป่วยและญาติ รับรู้ และยินดีรับการรักษาแบบประคับประคองด้วยการแพทย์
                                            แผนไทยและสมุนไพร
            ขั้นที่ 2 : ระยะดูแลต่อเนื่อง  - แพทย์แผนไทยร่วมกับพยาบาลประเมินความต้องการการดูแลรักษาในผู้ป่วย
            การประเมินปัญหาความต้องการของ   มะเร็งระยะสุดท้ายโดยใช้แบบประเมิน Palliative Performance Scale
            ผู้ป่วย/ผู้ดูแล และการปฏิบัติตามแนว   Version 2 (PPS V2)
            ทางเวชปฏิบัติแลการดูแลรักษาด้วย  - ประเมินอาการรบกวนเบื้องต้นของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับ
            การแพทย์แผนไทยและการประเมิน     ประคองด้วยการแพทย์แผนไทย โดยใช้แบบประเมิน ESAS (Edmonton
            ผลลัพธ์การดูแลรักษา             Symptom Assessment System)
                                          - วางแผนการดูแลรักษาล่วงหน้า (advanced care planning) เป็นการวางแผน
                                            การดูแลรักษาร่วมกันเป็นระยะ ๆ ตามอาการด�าเนินโรค ของทีมสหวิชาชีพ
                                            ผู้ให้บริการกับผู้ป่วยและผู้ดูแลหลัก
                                          - วิชาชีพแพทย์แผนไทย ให้การดูแลตามแผนการดูแลรักษาอย่างครอบคลุม
                                            องค์รวมตามหลักธรรมมานามัย ทั้งกายานามัย จิตตานามัย และชีวิตานามัย
                                            ในการจัดการกับอาการรบกวนต่าง ๆ และปรับแผนการดูแลรักษาตามสภาพ
                                            ปัญหาของผู้ป่วย
                                          1) กายานามัย
                                             1.1) มุ่งเน้นใช้ยาสมุนไพรด้วยหลักการ รุ ล้อม รักษา บ�ารุง ดังนี้
                                              รุ   คือ การขับของเสียเพื่อท�าความสะอาดภายในร่างกายผู้ป่วย
                                                  - ยารสขม เช่น สะเดา มะเขือพวง ลูกใต้ใบ ต�ารับยาเบญจอ�ามฤตย์
                                                   และรสเปรี้ยว เช่น น�้ามะนาว ยาตรีผลา ช่วยระบาย ถ่ายพิษ
                                                   ถ่ายของเสีย
                                                  - ยารสจืด ช่วยขับปัสสาวะ เช่น หญ้าหนวดแมว ขลู่ ตะไคร้ รางจืด
                                              ล้อม  คือ การรักษาอาการข้างเคียงของโรคตามหลักสมุฏฐานวินิจฉัยของ
                                                 แพทย์ ล้อมไว้ไม่ให้กระจายไปที่อื่น
                                                    - ยารสเผ็ดร้อน ช่วยเรื่องระบบไหลเวียน ขับลม แก้อาการท้องอืด
                                                   เฟ้อ เช่น ขิง ยาธาตุอบเชย กะเพรา
                                              รักษา คือ การวางยาบ�าบัดรักษาตามสาเหตุและอาการ โดยใช้ยารักษา
                                                 โรคมะเร็งทั้งที่เป็นยาเดี่ยวและต�ารับยาปรุงเฉพาะรายในคัมภีร์การ
                                                 แพทย์แผนไทย ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ยาสมุนไพร
                                                 ประจ�าบ้าน และยาสมุนไพรในสาธารณสุขมูลฐาน ซึ่งเป็นศิลปะการ
                                                 รักษาของแพทย์แต่ละท่านตามแต่อาการของผู้ป่วย
                                                   - ยารสเมาเบื่อที่ใช้แก้พิษ หรือเป็นยาต้านมะเร็ง เช่น หัวข้าวเย็น
                                                   ทั้งสอง รากทองพันชั่ง รากหนอนตายอยาก
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118