Page 69 - วารสารการแพทย์แผนไทย ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2565
P. 69
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2565 Vol. 20 No. 3 September-December 2022
นิพนธ์ต้นฉบับ
การพัฒนาเม็ดสารสกัดใบเตยเพื่อใช้ย้อมคราบจุลินทรีย์บนผิวฟัน
กิตติโชติ วรโชติกำ�จร , สิทธศ�สตร์ รัตนรัตน์, อนวัตร ลีล�สุธ�นนท์
*
สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตำาบลคอหงส์ อำาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
* ผู้รับผิดชอบบทความ: kittichote.w@psu.ac.th
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการพัฒนาเม็ดกลมที่ใช้ย้อมคราบจุลินทรีย์บนผิวฟันจากสารสกัดใบเตย โดยท�าการสกัดใบเตย
ด้วยน�้าและไม่ใช้ความร้อน ท�าให้แห้งโดยวิธีแช่เยือกแข็งจะได้ผงแห้งสารสกัดใบเตยสีเขียวสด เม็ดสารสกัดใบเตยที่
ประกอบด้วยสารสกัดใบเตยและสารก่อเม็ดกลมชนิดต่าง ๆ จะถูกเตรียมขึ้นโดยวิธี extrusion-spheronization สูตรเม็ด
กลมที่เหมาะสมจะเลือกจากความกลมและความสามารถในการย้อมติดสีฟัน จากนั้นน�าไปประเมินการแตกกระจาย
ตัว ความกร่อน รวมทั้งศึกษาเคมีกายภาพของเม็ดกลมเมื่อเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 1 เดือน ผลการศึกษาพบ
ว่า ชนิดของสารก่อเม็ดกลมมีผลต่อค่าความกลมและความสามารถในการย้อมติดสีฟัน สารช่วยติดสีก็มีผลต่อความ
สามารถในการย้อมติดสีฟันของเม็ดสารสกัดใบเตย เม็ดกลมที่ประกอบด้วยสารสกัดใบเตย 15% ส่วนผสมของ Avicel
RC-591 และ Avicel PH 101 ในอัตราส่วน 70 ต่อ 30 และ อะลัม 10% เป็นเม็ดกลมที่ดีที่สุด เม็ดกลมที่ได้ แตกตัวได้
ง่าย มีค่าความกร่อนน้อยกว่า 1% เมื่อเก็บไว้ 1 เดือน ลักษณะทางกายภาพของเม็ดกลมไม่มีการเปลี่ยนแปลงและยังมี
ปริมาณคลอโรฟิลล์สูงมากกว่า 90% การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดใบเตยในรูปเม็ดกลมสามารถน�ามาพัฒนา
เป็นสีย้อมคราบจุลินทรีย์บนผิวฟันจากธรรมชาติได้
ค�ำส�ำคัญ: Pandanus amaryllifolius, ใบเตย, เม็ดกลม, คราบจุลินทริย์, สีย้อมฟัน
Received date 08/05/22; Revised date 01/10/22; Accepted date 29/11/22
483