Page 205 - วารสารการแพทย์แผนไทย ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2565
P. 205

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                      ปีที่ 20  ฉบับที่ 3  กันยายน-ธันวาคม  2565   Vol. 20  No. 3  September-December  2022




                                                                               รายงานเบื้องต้น



            การศึกษาระดับความพร้อม ความรู้ เจตคติ แรงจูงใจ และปัจจัยที่สัมพันธ์

            กับความพร้อมของบุคลากรในการเข้าสู่การประเมินคุณภาพ

            โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน กรุงเทพมหานคร



            รัชดาภรณ์ บัวมหะกุล , ธันวา บัวมหะกุล
                              *
            โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แขวงคลองมหานาค
            เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
             ผู้รับผิดชอบบทความ:  miuoka2@hotmail.com
            *



                                                 บทคัดย่อ

                    ในปีงบประมาณ 2564 โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน มีแผนจะเข้าร่วมการประเมิน
               รับรองคุณภาพจากทีมรับรองคุณภาพการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย เพื่อพัฒนาตนเองเป็นโรงพยาบาล
               การแพทย์แผนไทยแห่งแรกในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐาน (Hospital Accreditation: HA) แต่
               เนื่องจากบุคลากรส่วนใหญ่ในโรงพยาบาลเป็นแพทย์แผนไทย และผู้ช่วยแพทย์แผนไทย ซึ่งมีประสบการณ์ในการ
               ท�างานคุณภาพน้อยจึงท�าให้เกิดความไม่มั่นใจในการเข้ารับการประเมินคุณภาพ  การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
               เพื่อศึกษาระดับความพร้อม ความรู้ เจตคติ แรงจูงใจ และศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความพร้อมของบุคลากร
               โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานในการเข้าสู่การประเมินพัฒนาคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูล
               ด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานทุกคน จ�านวน
               150 คน ประกอบด้วย แพทย์แผนไทย ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย แพทย์แผนจีน ผู้ช่วยแพทย์แผนจีน ผู้ช่วยโครงการวิจัย
               ผู้ช่วยเหลือคนไข้ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ นักจัดการงานทั่วไป เจ้าหน้าที่ธุรการ มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ โดยข้อมูล
               ทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาปัจจัยต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับความพร้อมของบุคลากรโดยใช้สถิติเชิง
               วิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับความพร้อมในการเข้ารับการประเมินคุณภาพในระดับปานกลาง
               มีระดับความรู้เกี่ยวกับงานคุณภาพในระดับต�่า มีเจตคติและแรงจูงใจในการท�างานพัฒนาคุณภาพในระดับปานกลาง
               ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมในการปฏิบัติงานการพัฒนาคุณภาพของบุคลากรพบว่า หน้าที่ความรับ
               ผิดชอบ การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพ (HA) การร่วมเป็นคณะกรรมการทีมพัฒนาคุณภาพ
               โรงพยาบาล ความรู้ เจตคติ และแรงจูงใจ มีความสัมพันธ์กับการความพร้อมในการปฏิบัติงานการพัฒนาคุณภาพอย่าง
               มีนัยส�าคัญทางสถิติที่ 0.05 จากข้อมูลที่วิเคราะห์ได้มีการจัดท�าแนวทางในการเพิ่มความพร้อมของบุคลากรให้พร้อม
               เข้าสู่การประเมินคุณภาพมากขึ้น และสามารถผ่านการประเมินคุณภาพได้ในที่สุดจ�านวน 3 โครงการ คือ โครงการ
               อบรมความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานพัฒนาคุณภาพ โครงการเพิ่มสวัสดิการน�้าดื่ม อาหารและสถานที่สันทนาการให้
               กับบุคลากร และการแต่งตั้งให้บุคลากรในโรงพยาบาลทุกคนเป็นหนึ่งในคณะกรรมการทีมพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล

                    ค�ำส�ำคัญ:  การประเมินคุณภาพ, ความรู้, เจตคติ, แรงจูงใจ


            Received date 20/12/21; Revised date 02/06/22; Accepted date 29/11/22


                                                    619
   200   201   202   203   204   205   206   207   208   209   210