Page 114 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2564
P. 114
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2564 Vol. 19 No. 2 May-August 2021
นิพนธ์ต้นฉบับ
ประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาเขียวหอมชนิดผง
ในการรักษาแผลร้อนใน
ภัทรภร ไชยหัด , ณัฐกฤตา ผลอ้อ , พจชระ คำาสีทา , สุบิน ก้องเมือง , กฤษณ์ พงศ์พิรุณห์ ,
,
†
* §
*
*
*
เมธิน ผดุงกิจ ‡
โรงพยาบาลนำาพอง ตำาบลนำาพอง อำาเภอนำาพอง จังหวัดขอนแก่น 40310
* ้ ้ ้
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
†
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำาบลขามเรียง อำาเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
‡
§ ผู้รับผิดชอบบทความ: k_pttm@hotmail.com
บทคัดย่อ
้
ยาเขียวหอมเป็นยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ใช้บรรเทาอาการไข้ ร้อนใน กระหายนำา การศึกษา
วิจัยทางคลินิกแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาเขียวหอมชนิดผง
้
ในการรักษาแผลร้อนในในปาก กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่มีแผลร้อนในในปากที่รักษาในโรงพยาบาลนำาพอง 100 คน
แบ่งเป็น 2 กลุ่มเท่ากัน กลุ่มควบคุมได้รับยา 0.1% triamcinolone oral paste โดยให้ป้ายยาบาง ๆ ที่แผลวันละ 3-4 ครั้ง
้
หลังรับประทานอาหารและก่อนนอนจนแผลหาย ส่วนกลุ่มทดลองได้รับยาผงเขียวหอมขนาด 1 กรัม ละลายนำาอุ่น
รับประทานวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า-เย็น ร่วมกับการทายาเขียวหอมชนิดผงขนาด 125 มิลิกรัม/ครั้ง แตะทา
ให้ทั่วบริเวณแผลวันละ 4 ครั้ง หลังอาหาร เช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน จนแผลหาย เครื่องมือที่ใช้คือแบบวัดความ
ปวด 10 ระดับ การวัดขนาดของแผลด้วย Vernier Caliper ในวันที่ 0, 2 และ 6 และการประเมินความพึงพอใจและผล
ข้างเคียงของยา ผลการวิจัยพบว่าอายุเฉลี่ยของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเท่ากับ 53.1 และ 55.2 ปี ตามลำาดับ
จำานวนแผลในทั้งสองกลุ่มคือ 1-3 แผล วันที่ 0 ขนาดแผลตำาแหน่งที่ 1 ของกลุ่มทดลองมากกว่าและกลุ่มควบคุมอย่าง
มีนัยสำาคัญ (p < 0.05) แผลตำาแหน่งที่ 2 และ 3 ไม่แตกต่างกัน (p ≥ 0.05) วันที่ 2 ขนาดแผลเฉลี่ยกลุ่มทดลองทุก
ตำาแหน่งลดลงมากแต่ไม่ต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำาคัญ (p ≥ 0.05) วันที่ 6 กลุ่มทดลองแผลหาย 100% กลุ่ม
่
ควบคุมแผลหาย 74.0% ในวันที่ 2 และ 6 ค่าเฉลี่ยของคะแนนความเจ็บปวดของกลุ่มทดลองตำากว่ากลุ่มควบคุมอย่าง
มีนัยสำาคัญ (p < 0.05) และไม่มีรายงานอาการที่ไม่พึงประสงค์ในการรักษา สรุปได้ว่ายาผงเขียวหอมมีประสิทธิผล
และความปลอดภัยในการรักษาแผลร้อนในโดยไม่พบผลข้างเคียง
คำ�สำ�คัญ: ยาเขียวหอมชนิดผง, แผลร้อนใน, ประสิทธิผล, ความปลอดภัย
Received date 13/08/20; Revised date 08/02/21; Accepted date 04/03/21
344