Page 207 - วารสารการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 19 ฉบับที่ 1
P. 207

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                      ปีที่ 19  ฉบับที่ 1  มกราคม-เมษายน 2564        Vol. 19  No. 1  January-April 2021




                                                                               รายงานเบื้องต้น



            ประสิทธิผลเบื้องต้นของการนวดไทยแบบราชสำานักในการรักษาโรคนิ้วล็อก:

            การศึกษานำาร่อง



            คัญฑมารา สิทธิไกรพงษ์ , ปารัณกุล ตั้งสุขฤทัย , ปิยะพงษ์ พุกกะนัดด์ *
                                                    †
                                *,‡
            * กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จังหวัดนนทบุรี 11000
            † วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี 12120
             ผู้รับผิดชอบบทความ:  Loving home.lek@gmail.com
            ‡










                                                 บทคัดย่อ

                    นิ้วล็อก (Trigger Finger) หรือแพทย์แผนไทยเรียก นิ้วไกปืน เป็นอาการที่นิ้วมือเกิดล็อกขณะที่งอนิ้วแล้วไม่
               สามารถกลับมาเหยียดตรงได้ง่าย เกิดจากการอักเสบ หนาตัวของปลอกเอ็นกล้ามเนื้อที่นิ้ว ทำาให้นิ้วเกิดอาการล็อก
               ไม่สามารถเหยียดหรืองอได้ตามปกติ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หรือปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน จะส่งผล
               ให้มีอาการปวดมากขึ้น และความพิการของนิ้วมือตามมา การบริหารนิ้วมือ การนวดไทยแบบราชสำานักเป็นวิธีหนึ่ง
               ในการรักษาอาการนิ้วล็อกในระยะแรก ซึ่งช่วยลดอาการล็อกของนิ้วและลดปวดได้ดี แต่ยังขาดการศึกษาวิจัยในการ
               ยืนยันประสิทธิผลของการนวดไทยแบบราชสำานักในการรักษานิ้วล็อก การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่ไม่มี
               กลุ่มควบคุม (experimental research uncontrolled trial) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลเบื้องต้นของการ
               เคลื่อนไหวของนิ้วที่ล็อก และอาการปวดนิ้ว ก่อนและหลังการนวดรักษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีอาการล็อกของนิ้ว
               มือ ระยะเล็กน้อยถึงปานกลาง จำานวน 30 คน อายุตั้งแต่ 30-65 ปี ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 80 เป็นเพศหญิง มีอายุ
               ระหว่าง 51-60 ปี (ร้อยละ 53.3) พบว่า ค่าความปวดของนิ้วมือที่ล็อกลดลงอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ (p < 0.05) จาก
               ค่าคะแนนก่อน 4.3 ± 2.1 หลังการนวดครั้งที่ 3 (วันที่ 5) 1.6 ± 0.3 แรงของการกำามือและการเหยียดนิ้วมือดีขึ้นกว่า
               ก่อนนวด การทดสอบของกำาลังมือ ผู้ป่วยที่มารับการรักษาทั้ง 3 ครั้ง ทั้งก่อนและหลังส่วนใหญ่มีกำาลังมืออยู่ในระดับ
               ปานกลางและหลังจากการนวดผู้ป่วยมีกำาลังนิ้วดีขึ้น

                    คำ�สำ�คัญ :  โรคนิ้วล็อก (นิ้วไกปืน) trigger finger, การนวดไทยแบบราชสำานัก











            Received date 16/01/20; Revised date 15/12/20; Accepted date 17/03/21


                                                    189
   202   203   204   205   206   207   208   209   210   211   212