Page 105 - วารสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 18 ฉบับที่ 2
P. 105

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                        ปีที่ 18  ฉบับที่ 2  พฤษภาคม-สิงหาคม 2563       Vol. 18  No. 2  May-August 2020




                                                                                   นิพนธ์ต้นฉบับ



              ประสิทธิผลของการรักษาอาการปวดประจำาเดือนชนิดปฐมภูมิด้วยวิธีการ

              ฝังเข็มแบบกำาหนดจุดคงที่ โรงพยาบาลยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ



              ชำ�น�ญ สมรมิตร , เชิดช�ติ วิทูร�ภรณ์ , ทิว�วรรณ สกุลจันทร , เพชรรัตน์ ทัดเทียม ,
                                              †
                                                                 *
                            *
                                                                                   *,§
              นิชช์ภ�พร กอสุระ , วิภ�วี สีบุดด� , ภัทร�วรรณ จิตดี , ทัศนีย์ ฮ�ซ�ไนน์ ‡
                                                          *
                             *
                                          *
              * โรงพยาบาลยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ 33190
              † โรงพยาบาลพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ 33190
              ‡ สถาบันการแพทย์ไทย-จีน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จังหวัดนนทบุรี 11000
               ผู้รับผิดชอบบทความ: Karn33190@gmail.com
              §




                                                   บทคัดย่อ
                      การฝังเข็ม เป็นการแพทย์ทางเลือกแขนงหนึ่งที่คนไทยรู้จักกันมาก เป็นวิธีการแทงเข็มรักษาโรค ด้วยการ
                 ใช้เข็มซึ่งมีหลายขนาด แทงลงไปตรงตำาแหน่งของจุดฝังเข็มตามตำาแหน่งต่าง ๆ ของร่างกาย โดยใช้หลักการรักษา
                 ของแพทย์แผนจีนที่มีการบันทึกไว้ตั้งแต่โบราณตำาแหน่งของจุดฝังเข็มมีความสำาคัญและสัมพันธ์กับอวัยวะต่าง ๆ
                 ในร่างกาย การฝังเข็มส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น เนื้อเยื่อบริเวณที่มีการบาดเจ็บ ได้รับการซ่อมแซม
                 ให้กลับคืนสู่สภาพปกติ การศึกษาประสิทธิผลการรักษาอาการปวดประจำาเดือนชนิดปฐมภูมิ ด้วยการฝังเข็มแบบ
                 กำาหนดจุดคงที่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการรักษาอาการปวดประจำาเดือนชนิดปฐมภูมิด้วยการฝัง
                 เข็มแบบกำาหนดจุดคงที่ 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาอาการปวดประจำาเดือนชนิดปฐมภูมิ ด้วยการฝัง
                 เข็มแบบกำาหนดจุดคงที่กับยาแผนปัจจุบัน 3) เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตและความพึงพอใจ  รูปแบบการวิจัยแบบสุ่ม
                 เปรียบเทียบ กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงอายุ 15-45 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะปวดประจำาเดือนชนิดปฐมภูมิ จำานวน
                 70 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและเปรียบเทียบ กลุ่มละ 35 ราย ได้แก่ 1) รักษาด้วยฝังเข็ม 2) รักษาด้วยการใช้ยาแผน
                 ปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีค่าเฉลี่ยระดับความปวดก่อนเข้าโปรแกรมอยู่
                 ในระดับปานกลาง หลังเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับน้อย 2) ค่าเฉลี่ยระดับความปวดของกลุ่มทดลองและกลุ่ม
                 เปรียบเทียบลดลง วิเคราะห์ผลด้วยสถิติการทดสอบที  พบว่าครั้งที่ 2, 3 และ 4 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำาคัญทาง
                 สถิติ (p-value < 0.05) กลุ่มทดลองมีความปวดลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 3) หลังเข้าโปรแกรมกลุ่มทดลองมีค่า
                 เฉลี่ยของการประเมินคุณภาพชีวิตมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)  ข้อเสนอแนะ
                 การฝังเข็มเป็นทางเลือกในการรักษา สามารถนำาไปใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีการแพ้ยาแผน
                 ปัจจุบัน และควรได้รับการสนับสนุนประชาสัมพันธ์ให้แพร่หลาย

                      คำ�สำ�คัญ:  การฝังเข็ม, ประสิทธิผล, ปวดประจำาเดือนชนิดปฐมภูมิ





              Received date 02/03/20; Revised date 25/06/20; Accepted date 21/08/20

                                                      327
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110