Page 87 - วารสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 17 ฉบับที่ 3
P. 87

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                      ปีที่ 17  ฉบับที่ 3  กันยายน-ธันวาคม 2562   Vol. 17  No. 3  September-December 2019




                                                                                 นิพนธ์ต้นฉบับ



            ผลเบื้องต้นของสารสกัดยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don)

            ต่อฤทธิ์ต้านมะเร็ง ฤทธิ์ต้านเชื้อรา และการวิเคราะห์สารประกอบฟีนอลิกด้วย

            HPLC



            ชวลิต โยงรัมย์ , สริน ทัดทอง , นาถธิดา วีระปรียากูร , เพลินทิพย์ ภูทองกิ่ง ‡,§
                                                        ‡
                        *
                                     †
            * หลักสูตรชีวเวชศาสตร์ คณะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002
            † สาขาวิชาเภสัชเวท คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จังหวัดนครนายก 26120
            ‡ สาขาวิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002
            § ผู้รับผิดชอบบทความ: pploenthip@kku.ac.th










                                                 บทคัดย่อ

                    ยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don) เป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้ในหลาย ๆ ประเทศในทวีปเอเชีย
               ในประเทศไทยมีการใช้ยางนาในการรักษาโรคผิวหนัง โรคไขข้อ โรคตับ เป็นต้น ในการวิจัยนี้ได้ศึกษาฤทธิ์ต้านมะเร็ง
               ฤทธิ์ต้านเชื้อรา รวมไปถึงศึกษาองค์ประกอบจำาพวกสารกลุ่มฟีนอลิกด้วยเทคนิค HPLC ของสารสกัดใบ เปลือก และ
               กิ่งของยางนา พบว่าสารสกัดทั้ง 3 ส่วนสามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งที่เพาะเลี้ยงในหลอดทดลอง โดยยับยั้ง
               เซลล์มะเร็งเม็ดเลือด (Jurkat) ได้ดีที่สุด รองลงมาคือมะเร็งปากมดลูก (HeLa) และมะเร็งตับ (HepG2) ตามลำาดับ อีกทั้ง
               ยังไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ที่ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง (Vero) สำาหรับฤทธิ์ต้านเชื้อราพบว่า สารสกัดใบและเปลือกสามารถ
               ยับยั้งการเจริญได้เพียงเชื้อ T. mentagrophytes และสารสกัดยางนาทั้ง 3 ส่วนไม่สามารถยับยั้งเชื้อราก่อโรคกลากและ
               ก่อรังแคอื่น ๆ ที่ใช้ทดสอบเมื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีด้วยเทคนิค HPLC พบสาร gallic acid ในใบ เปลือก และกิ่ง
               สาร protocatechuic acid ในเปลือก และพบสาร p-coumaric acid และ ferulic acid ในกิ่ง การศึกษานี้ให้ข้อมูลเบื้อง
               ต้นที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของสารสกัดยางนาที่สามารถนำาไปพัฒนาเพื่อใช้ทางการแพทย์ในการรักษาโรคมะเร็ง
               และเป็นการส่งเสริมการใช้พืชพื้นบ้านในประเทศไทย

                    คำ�สำ�คัญ: ยางนา, ฤทธิ์ต้านมะเร็ง, ฤทธิ์ต้านเชื้อรา, สารประกอบฟีนอลิก












            Received date 15/05/19; Revised date 24/07/19; Accepted date 10/10/19

                                                    437
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92