Page 110 - วารสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 17 ฉบับที่ 3
P. 110

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                     ปีที่ 17  ฉบับที่ 3  กันยายน-ธันวาคม 2562
            460 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก      Vol. 17  No. 3  September-December 2019
                                                               ปีที่ 17  ฉบับที่ 3  กันยายน-ธันวาคม 2562


                                                                                นิพนธ์ต้นฉบับ



           องค์ประกอบของดนตรีที่ใช้ในการบำาบัดที่มีผลต่อการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ร่วม

           ทางสังคมในเด็กออทิซึม



           พัชวรรณ พู่พิทยาสถาพร , นัทธี เชียงชะนา †,‡
                                *
            วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครปฐม 73170
           *
            วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครปฐม 73170
           †
            ผู้รับผิดชอบบทความ: natee.che@mahidol.ac.th
           ‡







                                                บทคัดย่อ

                   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และจัดอันดับองค์ประกอบของดนตรีที่ใช้ในการบ�าบัดที่มีผลต่อการส่ง
              เสริมปฏิสัมพันธ์ร่วมทางสังคมในเด็กออทิซึม ซึ่งองค์ประกอบของดนตรีที่น�ามาวิเคราะห์ ประกอบด้วย 8 องค์
              ประกอบ ได้แก่ สีสันของเสียง (timbre) รูปแบบจังหวะ (rhythm) อัตราจังหวะ (tempo) ระดับเสียง/ท�านอง (pitch/
              melody) ความดัง-เบา (dynamics) เนื้อเพลง (lyrics) คีตลักษณ์ (form) เสียงประสาน (harmony) และ แนวเพลง (style)
              ผ่านการท�ากิจกรรมดนตรีบ�าบัดร่วมกับนักดนตรีบ�าบัด เช่น การร้องเพลง การเล่นเครื่องดนตรี อาทิ กลอง กระดิ่ง
              เสียง ลูกแซก เปียโน หรือ กีตาร์ และการขยับร่างกายประกอบเพลง การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสังเกตการณ์
              ผ่านวิดีโอ (video-based observation research) เพื่อศึกษาความถี่ของพฤติกรรมการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมทางสังคมในเด็ก
              ออทิซึมที่เกิดขึ้นระหว่างการท�ากิจกรรมดนตรีบ�าบัด ซึ่งจ�าแนกความถี่ของพฤติกรรมการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมทางสังคม
              ตามองค์ประกอบของดนตรีและกิจกรรมดนตรีบ�าบัด โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตผ่านเทปบันทึกภาพวิดีโอ
              กิจกรรมดนตรีบ�าบัด ในเด็กออทิซึมที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก จ�านวน 3 ราย อายุระหว่าง 7-10 ปี ที่เข้ารับดนตรีบ�าบัด
              ที่สาขาวิชาดนตรีบ�าบัด วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่าง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 ถึงเดือนมีนาคม
              พ.ศ. 2559 ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบของดนตรีที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมทางสังคมในกรณีศึกษาทั้ง 3
              ราย มากที่สุด คือ องค์ประกอบด้านระดับเสียง/ท�านองของบทเพลง รองลงมาคือองค์ประกอบด้านเนื้อเพลง และองค์
              ประกอบด้านสีสันของเสียง ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าว เป็นองค์ประกอบที่เกิดขึ้นในกิจกรรมการเล่นเครื่องดนตรีหรือ
              กิจกรรมที่มีการบูรณาการการเล่นเครื่องดนตรีเข้าไปร่วมด้วยมากที่สุด โดยองค์ประกอบของดนตรีดังกล่าวถูกน�า
              เสนอผ่านบทเพลงและกิจกรรมดนตรีที่เด็กชื่นชอบ ซึ่งเป็นการสร้างแรงจูงใจให้พวกเขามีปฏิสัมพันธ์ร่วมทางสังคม
              ได้ดียิ่งขึ้น

                   คำ�สำ�คัญ: ภาวะออทิซึม, ปฏิสัมพันธ์ร่วมทางสังคม, ดนตรีบ�าบัด, องค์ประกอบดนตรี







           Received date 12/06/18; Revised date 20/08/19; Accepted date 24/09/19

                                                   460
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115