Page 153 - Acrobat J Trad-21-3-2566
P. 153
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 21 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2566 Vol. 21 No. 3 September-December 2023
นิพนธ์ต้นฉบับ
การเปรียบเทียบฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งโรคระบบทางเดินอาหารของ
สารสกัดผักปลังขาวและผักปลังแดง
ญาณิศา รวยทรัพย์*, ศรีโสภา เรืองหนู , อรุณพร อิฐรัตน์ †,‡
†,§
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตำาบลคลองหนึ่ง
*
อำาเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตำาบลคลองหนึ่ง อำาเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
†
ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตำาบลคลองหนึ่ง
‡
อำาเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
ผู้รับผิดชอบบทความ: srisopa_r@yahoo.com
§
บทคัดย่อ
บทน�ำและวัตถุประสงค์: ผักปลังเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่พบได้ทั่วไปใช้เป็นยาสมุนไพรและรับประทานเป็น
อาหาร ในประเทศไทยพบได้สองชนิด คือ ผักปลังขาว (Basella alba L.) และผักปลังแดง (Basella rubra L.) มีสรรพคุณ
เป็นยาระบาย ป้องกันอาการท้องผูกและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบ
เทียบฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งโรคระบบทางเดินอาหารของสารสกัดผักปลังขาวและผักปลังแดง
วิธีกำรศึกษำ: ท�าการสกัดผักปลังขาวและผักปลังแดงสดโดยการหมักด้วยเอทานอลร้อยละ 95 จากนั้นสกัด
แยกด้วยวิธี partition extraction แล้วน�าไปทดสอบฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งโรคระบบทางเดินอาหาร ได้แก่
เซลล์มะเร็งช่องปากชนิด KB เซลล์มะเร็งกระเพาะอาหารชนิด KATO III เซลล์มะเร็งล�าไส้ใหญ่ชนิด SW480 และ
LS 174T เซลล์มะเร็งท่อน�้าดีชนิด KKU-M156 เซลล์มะเร็งตับชนิด Hep G2 และเซลล์ปกติชนิด HaCaT โดยวิธี SRB
assay
ผลกำรศึกษำ: สารสกัดหยาบผักปลังขาวสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งโรคระบบทางเดิน
อาหารทุกเซลล์ได้มากกว่าผักปลังแดง โดยสารสกัดหยาบผักปลังขาวมีฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง KB, KATO
III, SW480 และ KKU-M156 โดยมีค่า IC 50 เท่ากับ 39.31, 33.82, 31.54 และ 33.79 µg/mL ตามล�าดับ ในขณะที่เซลล์
LS 174T และ Hep G2 มีค่า IC 50 เท่ากับ 63.06 และ 59.63 µg/mL ซึ่งสารสกัดหยาบผักปลังขาวแสดงค่า SI ที่ดีต่อเซลล์
มะเร็ง KB, KATO III, SW480 และ KKU-M156 มีค่า SI เท่ากับ 2.39, 2.78, 2.98 และ 2.79 ตามล�าดับ ผลการทดสอบ
ของ fraction พบว่า fraction ชั้นคลอโรฟอร์มผสมเอทิลอะซีเตตของสารสกัดหยาบผักปลังขาวมีค่า IC 50 ต่อเซลล์มะเร็ง
ทุกชนิดดีที่สุด ยกเว้นต่อเซลล์ SW480 เมื่อเทียบกันระหว่างกลุ่มเซลล์ KATO III, SW480 และ KKU-M156 พบว่า
ค่า IC 50 ของ fraction ชั้นคลอโรฟอร์มผสมเอทิลอะซีเตตของสารสกัดหยาบผักปลังขาวไม่แตกต่างอย่างมีนัยส�าคัญ
จาก fraction ชั้นคลอโรฟอร์มของสารสกัดหยาบผักปลังแดง และเมื่อค�านวณค่า SI พบว่า fraction ชั้นคลอโรฟอร์ม
ของสารสกัดหยาบผักปลังแดงมีค่า SI สูงที่สุดต่อเซลล์มะเร็ง KATO III, SW480, LS 174T และ KKU-M156 เท่ากับ
Received date 30/04/23; Revised date 11/06/23; Accepted date 18/12 /23
636