Page 80 - วารสารการแพทย์แผนไทย ปีที่ 21 ฉบับที่ 2
P. 80
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2566 Vol. 21 No. 2 May-August 2023
นิพนธ์ต้นฉบับ
ประสิทธิผลของตำ�รับย�สมุนไพรที่ใช้ในก�รรักษ�โรคนอนไม่หลับ
โรงพย�บ�ลพุนพิน จังหวัดสุร�ษฎร์ธ�นี
ศรัณยา คงยิ่ง , ธัญญลักษณ์ ศิริยงค์
†
*,‡
โรงพยาบาลท่าโรงช้าง ตำาบลท่าโรงช้าง อำาเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84130
*
ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเวชศาสตร์แผนไทย คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ตำาบลคอหงส์
†
อำาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
ผู้รับผิดชอบบทความ: yai_mew@hotmail.com
‡
บทคัดย่อ
บทน�ำและวัตถุประสงค์: การศึกษานี้เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง ระหว่างปี 2562-2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ศึกษาประสิทธิผลของต�ารับยาสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคนอนไม่หลับโรงพยาบาลพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
วิธีกำรศึกษำ: คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จ�านวน 50 ราย ใช้ต�ารับยาสมุนไพรในการรักษาโรคนอนไม่
หลับ ประกอบด้วย ต�ารับยาศุขไสยาศน์ น�้ามันกัญชา (ต�ารับหมอเดชา) และยาหอมเทพจิตร ศึกษาจากข้อมูล 5 ส่วน
ประกอบด้วย ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล ประวัติการใช้ต�ารับยาสมุนไพรในการรักษาโรคนอนไม่หลับ แบบบันทึกคุณภาพ
การนอนหลับ (The Pittsburgh Sleep Quality Index: PSQI) แบบบันทึกระดับความเครียด และแบบบันทึกคัดกรอง
ความเสี่ยงโรคซึมเศร้า ติดตามผลการรักษา 1 เดือน
ผลกำรศึกษำ: ส่วนที่ 1 ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย (ร้อยละ 78) อายุเฉลี่ย 60 ปี
ขึ้นไป (ร้อยละ 64) ดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ (ร้อยละ 38) มีโรคประจ�าตัวคือโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิต
สูงมากที่สุด (ร้อยละ 32 เท่ากัน) ออกก�าลังกายเดินเร็วมากที่สุด (ร้อยละ 64) ส่วนที่ 2 ประวัติการใช้ต�ารับยาสมุนไพร
ในการรักษาโรคนอนไม่หลับ พบว่า ต�ารับยาศุขไสยาศน์ น�้ามันกัญชา (ต�ารับหมอเดชา) และยาหอมเทพจิตร ช่วยให้
นอนหลับได้ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p > 0.05) ส่วนที่ 3 หลังการรับประทานต�ารับยาสมุนไพรมีคะแนนเฉลี่ย
คุณภาพการนอนหลับ (PSQI) ดีขึ้นเป็น 5.20 คะแนน จากเดิมคะแนนเฉลี่ยคุณภาพการนอนหลับอยู่ในระดับ 10.06
คะแนน พบว่าการรับประทานต�ารับยาสมุนไพรส่งผลท�าให้คุณภาพการนอนหลับมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส�าคัญ
ทางสถิติ (p < 0.001) ส่วนที่ 4 หลังการรับประทานต�ารับยาสมุนไพรมีคะแนนเฉลี่ยระดับความเครียดลดลงสอดคล้อง
กับการมีคุณภาพการนอนหลับที่เพิ่มขึ้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ (p < 0.001) ส่วนที่ 5 ภายหลังการ
รับประทานต�ารับยาสมุนไพรมีคะแนนเฉลี่ยความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าลดลงเล็กน้อยมาก จากการศึกษาพบว่า
ต�ารับยาสมุนไพรไม่มีส่วนช่วยในการลดอาการซึมเศร้าได้ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p > 0.05)
อภิปรำยผล: ต�ารับยาสมุนไพร คือ ยาน�้ามันกัญชา (ต�ารับหมอเดชา) ยาศุขไสยาศน์ และยาหอมเทพจิตร
มีประสิทธิผลในการช่วยให้นอนหลับได้ สอดคล้องกับงานวิจัยอื่น ๆ ที่ผ่านมา
ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ: ต�ารับยาสมุนไพรไทยมีประสิทธิผลช่วยให้นอนหลับได้ แต่ควรมีการศึกษาวิจัยแบบ
ไปข้างหน้าแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial) เพื่อยืนยันประสิทธิผลของต�ารับยาสมุนไพรเพิ่ม
ขึ้น ซึ่งอาจเป็นทางเลือกใหม่ส�าหรับใช้ในการรักษาโรคนอนไม่หลับต่อไป
ค�ำส�ำคัญ: ประสิทธิผล, ต�ารับยาสมุนไพร, นอนไม่หลับ
Received date 16/02/23; Revised date 16/04/23; Accepted date 07/08/23
296