Page 233 - วารสารการแพทย์แผนไทย ปีที่ 21 ฉบับที่ 2
P. 233

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                      ปีที่ 21  ฉบับที่ 2  พฤษภาคม-สิงหาคม  2566      Vol. 21  No. 2  May-August  2023




                                                                                 นิพนธ์ต้นฉบับ



            วัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุชุมชน

            เวียงท่ากาน – ยุหว่า อำาเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่



            สามารถ ใจเตี้ย
            คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ตำาบลช้างเผือก อำาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300
            ผู้รับผิดชอบบทความ:  samart_jai@cmru.ac.th











                                                 บทคัดย่อ
                    บทนำ�และวัตถุประสงค์:  วัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านเป็นการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุภายใต้การผสมผสาน
               ภูมิปัญญาพื้นบ้านร่วมกับวิถีการดำาเนินชีวิต การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้าน และ
               สังเคราะห์แนวทางการนำาอาหารพื้นบ้านสู่การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
                    วิธีก�รศึกษ�:  การศึกษาแบบผสมวิธีนี้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในชุมชนเวียงท่ากาน – ยุหว่า อำาเภอสันป่าตอง
               จังหวัดเชียงใหม่ จำานวน 295 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำานวน 18 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การ
               สัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ และการอภิปรายกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิง
               เนื้อหา
                    ผลก�รศึกษ�:  พบว่า วัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านของผู้สูงอายุประกอบด้วยการเตรียมและการแสวงหาแหล่ง
               วัตถุดิบ ขบวนการปรุงอาหาร และการจัดสำารับและการเสิร์ฟ โดยมีค่าคะแนนวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านรวมเฉลี่ย
               ระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.46 ± 0.80) ส่วนแนวทางการนำาอาหารพื้นบ้านสู่การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
               มีข้อเสนอแนะโดยชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยควรมีการสร้างและพัฒนาแหล่งผลิตวัตถุดิบ การพัฒนา
               ผลิตภัณฑ์ และการส่งเสริมการบริโภคในผู้สูงอายุ
                    อภิปร�ยผล:  วัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านมีความสำาคัญต่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยเฉพาะตำารับแกง
               และตำารับน้ำาพริก วัฒนธรรมอาหารพื้นบ้าน.ในชุมชนคงอยู่และปฏิบัติภายใต้ความหลากหลายของทรัพยากรอาหาร
               ในชุมชน ความเชื่อ และความศรัทธา
                    ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ:  วัฒนธรรมอาหารของผู้สูงอายุรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ควรมีการ
               สนับสนุนด้านวิชาการ แหล่งเรียนรู้ และงบประมาณ รวมถึงสนับสนุนกระบวนการและแนวทางการมีส่วนร่วมใน
               การใช้ประโยชน์แหล่งทรัพยากรอาหารในชุมชน

                    คำ�สำ�คัญ:  วัฒนธรรมอาหารพื้นบ้าน, การสร้างเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ




            Received date 18/07/22; Revised date 17/03/23; Accepted date 07/08/23


                                                    449
   228   229   230   231   232   233   234   235   236   237   238