Page 55 - วารสารการแพทย์แผนไทย ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2565
P. 55

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                      ปีที่ 20  ฉบับที่ 3  กันยายน-ธันวาคม  2565   Vol. 20  No. 3  September-December  2022




                                                                                 นิพนธ์ต้นฉบับ



            การพัฒนาเจลสารสกัดขมิ้นชันสำาหรับการใช้รักษาโรคปริทันต์




            ศราภรณ์ สุวรรณศรี , ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน , อุดมลักษณ์ สุขอัตตะ †
                                                  *
                             *,‡
             สาขาปริทันตวิทยา ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คลองเตยเหนือ
            *
             เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
             สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
            †
             10900
            ‡ ผู้รับผิดชอบบทความ:  aomsaraporn7@gmail.com






                                                 บทคัดย่อ

                    โรคปริทันต์เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบของอวัยวะรองรับฟัน ขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) เป็น
               สมุนไพรไทยที่มีสารออกฤทธิ์ส�าคัญคือกลุ่มเคอร์คิวมินอยด์ และน�้ามันหอมระเหย ซึ่งมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ
               ต้านอนุมูลอิสระ และต้านเชื้อจุลชีพ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตั้งต�ารับเจลสารสกัดขมิ้นชันที่มีลักษณะทาง
               กายภาพและเคมีที่เหมาะสม และมีความคงตัว เพื่อใช้เป็นระบบน�าส่งสารเฉพาะที่ในการรักษาโรคปริทันต์ การ
               ศึกษานี้ได้วิเคราะห์ปริมาณสารส�าคัญกลุ่มเคอร์คิวมินอยด์ของสารสกัดขมิ้นชันด้วยเอทานอลด้วยวิธีโครมาโทกราฟี
               สมรรถนะสูง ตั้งต�ารับเจลโดยมี Carbopol 934P เป็นสารก่อเจล และประกอบด้วยสารสกัดขมิ้นชันร้อยละ 1-2 ประเมิน
               คุณสมบัติทางกายภาพ ค่าความเป็นกรดด่าง ความหนืด ความสามารถในการฉีดผ่านเข็ม เลือกต�ารับเจลที่เหมาะสม
               เพื่อทดสอบความคงสภาพในสภาวะเร่งและวิเคราะห์ปริมาณสารส�าคัญในกลุ่มเคอร์คิวมินอยด์ ผลการศึกษาพบว่า
               สารสกัดขมิ้นชันมีปริมาณสารเคอร์คิวมินอยด์ร้อยละ 16.582 ± 0.570 โดยน�้าหนัก ประกอบด้วย curcumin, deme-
               thoxycurcumin และ bisdemethoxycurcumin ต�ารับเจล F1 เป็นต�ารับที่เหมาะสมที่สุดซึ่งประกอบด้วยสารสกัดขมิ้น
               ชันและสารก่อเจล Carbopol 934P ร้อยละ 1 โดยน�้าหนัก เจลมีลักษณะทางกายภาพที่ดี ค่า pH เป็น 7.03 ± 0.04 โดย
               มีค่าความหนืดเป็น 9,660.00 ± 693.11 cP เมื่อวัดที่ความเร็วรอบ 100 รอบต่อนาที สามารถฉีดผ่านเข็มเบอร์ 21 ได้
               มีการคงตัวในสภาวะเร่งผ่าน heating–cooling test 6 รอบ ประกอบด้วยสารเคอร์คิวมินอยด์ทั้ง 3 ชนิด สรุปผลได้ว่า
               ต�ารับเจลสารสกัดขมิ้นชันที่ประกอบด้วย Carbopol 934P และสารสกัดขมิ้นชันร้อยละ 1 โดยน�้าหนักที่ตั้งต�ารับ มี
               คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี รวมถึงมีความคงตัวที่เหมาะสมกับการใช้ในช่องปากและเป็นทางเลือกในการ
               รักษาโรคปริทันต์ต่อไป
                    ค�ำส�ำคัญ:  ขมิ้นชัน, ระบบน�าส่งยาเฉพาะที่, โรคปริทันต์, เจลสมุนไพร










            Received date 16/02/22; Revised date 25/05/22; Accepted date 29/11/22


                                                    469
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60