Page 138 - วารสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 20 ฉบับที่ 1
P. 138

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                                                                     Vol. 20  No. 1  January-April  2022
                       ปีที่ 20  ฉบับที่ 1  มกราคม-เมษายน  2565
              118 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก       ปีที่ 20  ฉบับที่ 1  มกราคม-เมษายน 2565


                                                                                 นิพนธ์ต้นฉบับ




             ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในคนของสารสกัดหยาบพืชน้ำาที่รับประทานได้


             ปราณี นางงาม , ชยพล ศรีพันนาม , ชนนิษฏ์ ชูพยัคฆ์ †,‡
                         *
                                          †
              ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตำาบลท่าโพธิ์ อำาเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
             *
              ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตำาบลท่าโพธิ์ อำาเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
             †
             ‡  ผู้รับผิดชอบบทความ:  chonnanitc@nu.ac.th










                                                  บทคัดย่อ

                    ปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยานั้นเป็นปัญหาใหญ่ของมนุษยชาติ จึงจ�าเป็นต้องท�าการค้นคว้าหาสารชนิดใหม่ ที่
                มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียสูงจากธรรมชาติ เพื่อพัฒนาเป็นยาก�าจัดเชื้อแบคทีเรียชนิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพ การศึกษานี้
                ได้ท�าการรวบรวมพืชน�้าจากแหล่งน�้าในธรรมชาติและในตลาดสด จังหวัดพิษณุโลก จ�านวน 12 ชนิด โดยเลือกชนิด
                ที่มีความสัมพันธ์กับการใช้รักษาทางการแพทย์แผนไทย ฤทธิ์ทางชีวภาพ และสารทุติยภูมิที่พบในส่วนของพืชที่
                รับประทานได้ น�าชิ้นส่วนแห้งของพืชมาท�าการสกัดด้วยเอทานอล หลังจากนั้นน�าสารสกัดหยาบมาทดสอบฤทธิ์
                ต้านแบคทีเรียก่อโรคจ�านวน 5 สายพันธุ์ การทดสอบในเบื้องต้นด้วยวิธี agar-disc diffusion สามารถจัดกลุ่มพืชตาม
                ความสามารถในการยับยั้งได้เป็น 5 กลุ่มคือ 1) กลุ่มฤทธิ์สูง คือ แพงพวยน�้าและก้านจอง 2) กลุ่มฤทธิ์ค่อนข้างสูง
                คือ บัวหลวงและผักบุ้ง 3) กลุ่มฤทธิ์ปานกลาง คือ ผักกูด บัวสายและแว่นแก้ว 4) กลุ่มฤทธิ์น้อย คือ กระเฉดและโสน
                อินเดีย และ 5) กลุ่มไม่มีฤทธิ์ คือ ไข่น�้า ผักตบชวาและผักแว่น พบว่าสารสกัดมีผลยับยั้งเชื้อแกรมบวกมากกว่าแกรม
                ลบ เรียงความไวของเชื้อต่อสารสกัดจากมากไปน้อยได้เป็น Staphylococcus pyogenes > Streptococcus pneumoniae
                > Salmonella typhimurium > Staphylococcus aureus > Escherichia coli ค่าความเข้มข้นที่ต�่าที่สุดที่สามารถยับยั้ง
                การเจริญของเชื้อได้ โดยวิธี micro-broth dilution ยืนยันว่าสารสกัดแพงพวยน�้ามีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแกรมบวก S. pyogenes
                และ S. pneumoniae (0.625 มก./มล.) มากกว่าเชื้อแกรมลบ S. typhimurium (5 มก./มล.) ในขณะที่สารสกัดก้านจองมี
                ฤทธิ์ต่อเชื้อทั้ง 5 ชนิดใกล้เคียงกัน (1.25 มก./มล.) ผลที่ได้บ่งชี้ถึงศักยภาพของแพงพวยน�้าและก้านจองที่จะสามารถ
                น�าไปประยุกต์ใช้ได้ต่อไป

                    ค�ำส�ำคัญ:   ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย แบคทีเรียก่อโรคในคน พืชน�้ากินได้ สมุนไพร











             Received date 05/06/21; Revised date 29/08/21; Accepted date 31/03/22

                                                     118
   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143