Page 109 - วารสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 20 ฉบับที่ 1
P. 109

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                        ปีที่ 20  ฉบับที่ 1  มกราคม-เมษายน  2565      Vol. 20  No. 1  January-April  2022




                                                                                   นิพนธ์ต้นฉบับ




              ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสานในการนวดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม



              กัญญารัตน์ เป็งงำาเมือง , จินตนา จุลทัศน์ , กรรณิการ์ พุ่มทอง , สุรีรัตน์ บุตรพรหม †
                                                                  *
                                                 *
                                 *,‡
              * คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ตำาบลในเมือง อำาเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000
              † คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ตำาบลในเมือง อำาเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000
              ‡ ผู้รับผิดชอบบทความ:  Kanyarat.p@ubru.ac.th







                                                   บทคัดย่อ

                      การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาและรวบรวมองค์ความรู้การนวดเพื่อบำาบัดโรคข้อเข่าเสื่อมของ
                 หมอพื้นบ้านอีสานในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นพื้นที่ของวัตนธรรมไทยลาว และวัฒนธรรม
                 เขมร ตามลำาดับ และเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ของอีสาน เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพที่ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก สังเกต
                 จดบันทึก บันทึกภาพและเสียง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลหมอพื้นบ้านที่มีประสบการณ์ในการรักษาและเป็นที่ยอมรับ
                 ของคนในชุมชน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ส่งคืนข้อมูลให้หมอพื้นบ้านตรวจสอบและนำารายงานกลับคืนเพื่อแก้ไขเพิ่ม
                 เติมตามที่หมอพื้นบ้านต้องการเปิดเผย จากนั้นได้วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบตำาแหน่งทางกายวิภาคศาสตร์โดยแพทย์
                 แผนไทยประยุกต์และนักกายภาพบำาบัด ผลการศึกษาพบว่า หมอพื้นบ้านที่รักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการนวด จำานวน
                 12 คน เป็นหมอพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานีจำานวน 6 คน และจังหวัดศรีสะเกษ จำานวน 6 คน เป็นเพศชาย 9 คน
                 เพศหญิง 3 คน และส่วนมากเป็นผู้สูงอายุ โดยหมอพื้นบ้านที่ศึกษามีขั้นตอนในการรักษา โรคข้อเข่าเสื่อมคล้ายคลึง
                 กันแสดงให้เห็นถึงการผสมผสานวัฒนธรรม ซึ่งมีลักษณะการผสมผสานทั้งแบบการรักษาโรค วิธีการรักษา ด้าน
                 ความเชื่อและการประกอบพิธีกรรมก่อนการรักษาต่างกันเล็กน้อย ขั้นตอนในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมประกอบด้วย
                 1) การตั้งขันบูชาครู 2) การสัมภาษณ์ประวัติ 3) การตรวจร่างกาย 4) การนวด 5) การตรวจประเมินหลังนวด และ
                 6) การให้คำาแนะนำาในการปฏิบัติตน หมอพื้นบ้านเน้นการรักษาแบบองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ
                 การนวดพื้นบ้านเป็นการคลายเส้นเอ็น กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวข้อเข่า  เพิ่มการไหลเวียนเลือด เพิ่ม
                 ความยืดหยุ่นของข้อ บรรเทาอาการปวด เพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ การศึกษานี้เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
                 ข้อมูลที่ได้สามารถใช้เป็นข้อมูลสำาหรับประชาชนหรือบุคลากรทางการแพทย์ให้เข้าใจภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน
                 และนำาไปประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพแบบผสมผสานในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมต่อไป

                      คำ�สำ�คัญ:  ข้อเข่าเสื่อม, หมอพื้นบ้าน, การนวดพื้นบ้าน










              Received date 12/09/21; Revised date 11/11/21; Accepted date 31/03/22

                                                       89
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114