Page 144 - วารสารการแพทย์แผนไทย ปีที่ 19 ฉบับที่ 3
P. 144
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 19 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2564
690 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Vol. 19 No. 3 September-December 2021
ปีที่ 19 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2564
รายงานเบื้องต้น
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการขาดนัดการรักษาของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่ได้
รับการรักษาแบบประคับประคองในคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย
โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน กรุงเทพมหานคร
ธันวา บัวมหะกุล , รัชดาภรณ์ บัวมหะกุล
*
โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน กรุงเทพมหานครฯ 10110
* ผู้รับผิดชอบบทความ: thanwa63@hotmail.com
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้จัดทำาขึ้นเพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการขาดนัดการรักษาของผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย
ที่รักษาแบบประคับประคอง ของคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการ
แพทย์ผสมผสาน เพื่อลดอัตราการขาดนัดของผู้ป่วย และพัฒนาระบบบริการให้ดียิ่งขึ้น โดยเก็บข้อมูลทางโทรศัพท์
และใช้แบบสอบถามแบบย่อในการสัมภาษณ์ผู้ป่วย ที่มีประวัติขาดนัดการรักษาตั้งแต่ 1 ครั้งขึ้นไป จำานวน 85 คน
แบบสอบถามในการวิจัยใช้แนวทางของแบบสอบถามในงานวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการขาดนัดการรักษาของ
้
ผู้ป่วยจิตเภทที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดฉะเชิงเทรา ของนำาทิพย์ สงวนบุญญพงษ์ และวิเคราะห์
ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในส่วนของข้อมูลทั่วไป จากนั้น
วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน (Spearman’s Correla-
tion) สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation) และ สถิติไคสแควร์ (Chi-square) ผลการวิจัย
พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลในเรื่องของ เพศ เพศหญิงจะมีการขาดนัดมากกว่า เนื่องจากส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศ
หญิง และเพศหญิงมีอัตราการรอดชีวิตสูงกว่าเพศชาย เมื่อทำาการสำารวจออกมาจึงพบว่าเพศหญิงมีอัตราการขาดนัด
มากกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำาคัญที่ 0.05 การศึกษาระดับปวช. จะมีอัตราการขาดนัดที่มากกว่าผู้ป่วยที่มีการศึกษาใน
ระดับอื่นอย่างมีนัยสำาคัญที่ 0.05 และบุคคลที่อาศัยอยู่กับญาติ ไม่ได้อยู่กับสามีภรรยาหรือลูก จะมีอัตราการขาดนัด
ที่มากที่สุดอย่างมีนัยสำาคัญที่ 0.05 ในส่วนของบริบทในการมารับการรักษา รายได้เป็นปัจจัยหลักที่สัมพันธ์กับการ
่
ขาดนัดการรักษา อย่างมีนัยสำาคัญที่ 0.05 เนื่องจากการมาติดตามการรักษาอย่างสมำาเสมอ จำาเป็นต้องมีการค่าใช้จ่าย
ในการเดินทาง ยิ่งผู้ป่วยที่บ้านไกล ใช้เวลาเดินทางนาน ยิ่งต้องมีค่าใช้จ่ายสูง ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาและการ
สนับสนุนทางสังคม ก็เป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการขาดนัดการรักษา อย่างมีนัยสำาคัญที่ 0.05 ยิ่งผู้ป่วยให้ความร่วมมือดี
่
มีการสนับสนุนจากญาติ คนใกล้ชิด ผู้ป่วยก็จะสามารถมาติดตามการรักษาตามนัดได้สมำาเสมอ ลดอัตราการขาดนัด
ได้ และสุดท้ายสาเหตุของการขาดนัดส่วนใหญ่คือติดธุระ ในส่วนนี้ทางโรงพยาบาลสามารถแก้ไขได้ส่วนหนึ่งคือการ
ประชาสัมพันธ์เพิ่มความรู้ สร้างความตระหนักให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความสำาคัญ ในกรณีที่ผู้ป่วยตัดสินใจแล้วว่าต้องการ
ใช้ยาที่มีส่วนผสมของกัญชา ต้องมาติดตามการรักษาทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยเอง
คำ�สำ�คัญ: ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย, การขาดนัดการรักษา, การรักษาแบบประคับประคอง, คลินิก
กัญชาทางการแพทย์แผนไทย
Received date 04/04/21; Revised date 27/09/21; Accepted date 28/10/21
690