Page 76 - วารสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 18 ฉบับที่ 2
P. 76
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
Vol. 18 No. 2 May-August 2020
ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2563
298 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2563
นิพนธ์ต้นฉบับ
การเปรียบเทียบผลของการใช้ลูกประคบไพลและลูกประคบเถาวัลย์เปรียงต่อ
อาการปวดในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม
ธีระ ผิวเงิน , ขนิษฐา ทุมา
*
สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47160
ผู้รับผิดชอบบทความ: Teerapiw@gmail.com
*
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้ลูกประคบไพลและลูกประคบเถาวัลย์เปรียง
ต่ออาการปวดในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลพุทธมณฑล วิธีการศึกษากลุ่มผู้ป่วยโรคข้อเข่า
เสื่อมจำานวน 60 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเจาะจงโดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่มคือกลุ่มที่ใช้ลูกประคบเถาวัลย์
เปรียงเป็นหลักจำานวน 20 ราย กลุ่มที่ใช้ลูกประคบไพลเป็นหลักจำานวน 20 ราย และกลุ่มควบคุมที่ใช้ลูกประคบผ้า
จำานวน 20 ราย โดยทำาการประคบผู้เข้าร่วมวิจัยวันละ 2 ครั้ง ในช่วงเวลาเช้าและเย็น โดยประคบ 1 วัน เว้น 1 วัน
จำานวน 7 วัน ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลองค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมทั้ง 3 กลุ่ม
มีค่าลดลงทั้ง 3 กลุ่มโดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ p < 0.00 โดยกลุ่มประคบเถาวัลย์เปรียงค่า
คะแนนความปวดลดลงมากที่สุด = 4.45 ± 0.31 รองลงมาคือกลุ่มประคบไพลดลง = 2.6 ± 0.26 และกลุ่มควบคุมลด
ลง = 2.2 ± 0.00 เปรียบเทียบรายคู่หลังการทดลองระหว่างกลุ่มประคบไพลและกลุ่มประคบเถาวัลย์เปรียงพบว่าไม่
แตกต่างกัน p = 0.41 กลุ่มประคบเถาวัลย์เปรียงและกลุ่มควบคุมพบว่าค่า p = 0.004 โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำาคัญ
และกลุ่มควบคุมกับกลุ่มไพลพบว่าค่า p = 0.000 โดยมีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำาคัญ สรุปผลการทดลอง สมุนไพร
เถาวัลย์เปรียงสามารถลดอาการปวดได้ดีและไม่มีความต่างจากไพล จึงสมควรที่จะนำามาใช้ร่วมกับไพลในลูกประคบ
เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการบรรเทาอาการปวดในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม หรือสามารถใช้ทดแทนกันได้
คำ�สำ�คัญ: ลูกประคบไพล, ลูกประคบเถาวัลย์เปรียง, โรคข้อเข่าเสื่อม
Received date 20/08/19; Revised date 30/06/20; Accepted date 21/08/20
298