Page 138 - วารสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 18 ฉบับที่ 2
P. 138
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2563
Vol. 18 No. 2 May-August 2020
360 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2563
นิพนธ์ต้นฉบับ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์
แผนไทยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำาบลในเขตภาคเหนือตอนล่าง
วิภาดา มุกดา , กชกร ชำานาญกิตติชัย , ณิศิรา กายราศ ‡
†
*,§
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
*
สำานักกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
†
โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
‡
ผู้รับผิดชอบบทความ: amimukda9002@gmail.com
§
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยของ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำาบลในเขตภาคเหนือตอนล่างและศึกษาความต้องการและความพึงพอใจของผู้รับบริการ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ แจกแบบสอบถามกับประชาชนในพื้นที่ จำานวนทั้ง
สิ้น 645 คน และสัมภาษณ์กลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง จำานวน 140 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำาผลที่ได้จากสัมภาษณ์นำามาวิเคราะห์เนื้อหาและตีความมาสรุปเป็นข้อมูล ผลการศึกษาพบ
ว่า 1) ผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพ ประกอบด้วย เจลล้างหน้าที่มีส่วนผสมของถ่านซังข้าวโพด
ของจังหวัดพิษณุโลก ครีมหมักผมที่มีส่วนผสมของน้ำามันจากเมล็ดสำาโรงของจังหวัดสุโขทัย เซรั่มบำารุงผิวหน้าที่
มีส่วนผสมของว่านกาบหอยและน้ำามันมินต์ของจังหวัดกำาแพงเพชร ครีมพอกผิวที่มีส่วนผสมของแป้งกล้วยของ
จังหวัดพิจิตร มีประสิทธิผลในการกันแดดและบำารุงผิวพรรณ ครีมกันแดดแบบอัดแท่งที่มีส่วนผสมของข้าวกล้อง
ไรซ์เบอรี่อินทรีย์คุ้งตะเภาของจังหวัดอุตรดิตถ์ เจลกระชับหน้าอกที่มีส่วนผสมของแป้งถั่วมะแฮะของจังหวัดตาก
และครีมนวดผิวกายที่มีส่วนผสมของน้ำาแร่บ้านครูของจังหวัดเพชรบูรณ์ 2) ความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพนั้น ผลิตภัณฑ์ควรได้รับรองมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุข ผลิตภัณฑ์
สามารถสร้างอาชีพและรายได้แก่ชุมชนและ ส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง ส่วนความพึงพอใจ
เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพนั้น ตัวผลิตภัณฑ์ควรนำาทรัพยากรธรรมชาติใน
ท้องถิ่นมาใช้อย่างจริงจัง กลิ่นของผลิตภัณฑ์ควรเป็นกลิ่นตามธรรมชาติและเป็นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของชุมชน
ในท้องถิ่นกับการดูแลสุขภาพ
คำ�สำ�คัญ: ผลิตภัณฑ์สมุนไพร, การแพทย์แผนไทย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำาบล
Received date 25/02/20; Revised date 20/05/20; Accepted date 22/05/20
360