Page 24 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (วารสารเสริม) 2563
P. 24

24      วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก        ปี ที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (ฉบับเสริม) 2563





                                 emR2RI48 : การเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาชงเปลือกพะยอมกับน้ำเกลือในการ

                                 รักษาอาการแผลในช่องปาก (Comparison between bark brews Shorea

                                 roxburghii G.Don with saline solutions)
                                 of oral ulcers
               ศิราภรณ์  มหาโคตร, ชีวนันท์ เหล่าพงศ์พิชญ์, สุจารี  พนมเขต
               โรงพยาบาลกมลาไสย อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์

                      หลักการและเหตุผล แผลในช่องปากโดยเฉพาะแผลร้อนใน (Aphthous Ulcer) เป็นอาการที่พบบ่อยเป็น
               อาการเตือนที่แสดงถึงความไม่สมดุลของธาตุทั้ง 4 ในร่างกาย ตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย ส่งผลต่อการรับประทาน
               อาหารและการพูดของผู้ป่วย จากการสัมภาษณ์หมอพื้นบ้านจำนวน 20 คน พบว่าเปลือกต้นพะยอมเป็นพืชที่มีความถี่

               ในการใช้มากที่สุด 3 อันดับแรก เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของหมอพื้นบ้าน จ.กาฬสินธุ์ นิยมใช้เปลือกพะยอมอมไว้หรือ
               เคี้ยวรักษาแผลในช่องปากซึ่งเปลือกต้นพะยอมที่มีฤทธิ์สมานแผลและลดการอักเสบ แต่ยังไม่พบการศึกษาด้าน
               การแพทย์ในการใช้เปลือกพะยอมรักษาแผลในช่องปาก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเป็นการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของ
               ยาชงเปลือกพะยอมและน้ำเกลือต่อการรักษาแผลในช่องปาก เพื่อการรักษาแผลในช่องปากโดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน

               ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

                      วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาชงเปลือกพะยอมและน้ำเกลือในการรักษาอาการแผลใน
               ช่องปากและศึกษาความพึงพอใจการใช้ยาชงเปลือกพะยอมในการรักษาอาการแผลในช่องปาก

                      วิธีการดำเนินการ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลอง (2 group pre-test and post-test design) มี
               วัตถุประสงค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคัดเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย ประเมินโดยใช้ Visual rating scales : VRS การเก็บ
               รวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป ในการหาค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน

               เบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สถิติอนุมานทดสอบ Paired samples t-test วิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบผลการลด
               ปวด และขนาดแผล ก่อน-หลัง ในกลุ่มเดียวกัน และใช้สถิติทดสอบ Independent t-test ขนาดของแผลและระดับ
               ความปวดระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยศึกษาใน
               ผู้ป่วยจำนวน 54 คนที่มาทำการรักษาที่โรงพยาบาลกมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2561 ถึง

               วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2562 แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้การสุ่มแบบ Simple random sampling คือ
               กลุ่มที่บ้วนปากด้วยยาชงผงเปลือกต้นพะยอม 5 g./น้ำ 100 ml ชงเป็นเวลา 1 นาที เพื่อง่ายต่อการใช้และใช้ทำการ
               ทดลอง จำนวน 27 คน และกลุ่มบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ 5 g./น้ำ 100ml (กลุ่มเปรียบเทียบ) ชงเป็นเวลา 1 นาที 27

               คน อมไว้ 1 นาทีและบ้วนทิ้ง หลังแปรงฟัน เช้า-เย็น ติดตามประเมินผลการรักษา 5 วันหลังการรักษา
         ผล          ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มทดลองส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 30.3 ปี (S.D.=±6.18) มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 48.15
               อาชีพเกษตรกร ร้อยละ 40.74 กลุ่มเปรียบเทียบอายุเฉลี่ย 30.41 ปี (S.D.= ±6.63) มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 48.15

               อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 37.04 ข้อมูลเกี่ยวกับแผลในช่องปากของกลุ่มทดลอง พบว่าผู้ป่วยทั้งหมดเคยเป็นแผลในช่อง
                 ปาก กลุ่มทดลองส่วนใหญ่เคยเป็นแผลในช่องปาก 19.81 ครั้ง/ปี รักษาตนเองโดยใช้ยาแผนปัจจุบัน ร้อยละ 55.56

               (S.D.= ±0.88) ชอบรับประทานอาหารรสจัด ร้อยละ 55.56 (S.D.= ±0.74) ไม่มีความเครียด ร้อยละ 40.74 (S.D.=

               ±1.27) และนอนหลับเฉลี่ย 6 ชม./วัน และในกลุ่มเปรียบเทียบพบว่าผู้ป่วยทั้งหมดเคยเป็นแผลในช่องปาก

               กลุ่มทดลองส่วนใหญ่เคยเป็นแผลในช่องปาก 22.11 ครั้ง  /ปี รักษาตนเองโดยใช้ยาแผนปัจจุบัน ร้อยละ 44.44
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29