Page 19 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (วารสารเสริม) 2563
P. 19

19
        Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine   Vol.18 No.2 May-August (Supplement) 2020




                                   162R2R011 : ผลของการนวดไทยช่วยในการเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อในเด็ก

                                   สมองพิการในคลินิกกระตุ้นพัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ




               วริษฐา  อิงคสมภพ, อัจฉรา  สาวันดี, ศจีวรรณ์  ธวัชสิน
               โรงพยาบาลกันทรลักษ์ อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ
                       หลักการและเหตุผล ปัจจุบันเด็กสมองพิการ ได้รับการรักษาด้วยยา และการกระตุ้นพัฒนาการด้านต่าง ๆ

               ตามแนวทางการรักษาของแพทย์แผนปัจจุบัน โดยมีแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด รักษาและ

               ฟื้นฟูตามอาการของโรค ซึ่งในโรงพยาบาลกันทรลักษ์ยังไม่มีการนำศาสตร์การนวดไทย มาใช้ในการนวดกระตุ้น
               พัฒนาการของเด็กสมองพิการ เพื่อเพิ่มการกระตุ้นพัฒนาการของกล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหว อันจะช่วยให้ผู้ป่วย

               สามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น และป้องกันปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง ตลอดจนการเกิดแผลกดทับต่าง ๆ ที่อาจ

               เป็นภาวะแทรกซ้อนตามมา การนวดไทยเป็นอีกหนึ่งแนวทางของการแพทย์แผนไทยในการผสมผสานการรักษา เพื่อ
               การดูแลสุขภาพเด็กสมองพิการให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น มีความแจ่มใสทั้งด้านอารมณ์ สังคม สติปัญญา และส่งเสริม

               พัฒนาการเด็กให้เติบโตสมวัย ผู้วิจัยจึงได้นำศาสตร์การนวดไทย มาช่วยในการฟื้นฟูกล้ามเนื้อของเด็กสมองพิการ

                       วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการนวดไทยช่วยเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อในเด็กสมองพิการ ในคลินิก

               กระตุ้นพัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

                       วิธีการดำเนินการ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้ป่วยที่เข้า

               รับการรักษาที่คลินิกกระตุ้นพัฒนาการเด็ก และประเมินผลโดยการตรวจร่างกายก่อนและหลังการทำหัตถการและ
               แบบสอบถามความพึงพอใจ จัดทำแนวทางการนวดฟื้นฟูเด็กสมองพิการด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย เป็นการนวด

               แบบราชสำนักตามสูตรการนวดเด็กสมองพิการ เด็กที่เข้ารับการนวดฟื้นฟูจะได้รับความเห็นชอบจากกุมารแพทย์ ซึ่ง
               เป็นการลดภาวะแทรกซ้อนขณะนวดได้ โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนกันยายน 2562 – เดือน ธันวาคม 2562 จำนวน

               5 คน นัดมาทำการนวดฟื้นฟูสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และทำการประเมินทุกครั้งหลังการนวด เป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยการ

               ประเมินความเกร็งของกล้ามเนื้อใช้แบบประเมิน Modified Ashworth Scale วัดที่กล้ามเนื้อ Gastrocnemius ก่อน
               และหลังการนวดฟื้นฟูตามสูตรการนวดเด็กสมองพิการ ประเมินโดย นักกายภาพบำบัด และสอบถามความคิดเห็น

               จากผู้ปกครองเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนางานต่อไป

                      ผลการศึกษา จากการนวดแบบราชสำนักตามสูตรการนวดเด็กสมองพิการ พบว่าระดับความเกร็งของ
               กล้ามเนื้อ Gastrocnemius ของเด็กสมองพิการ 2 คน มีระดับความเกร็งลดลง จากระดับ 3 เป็นระดับ 2 และเด็กอีก

                 3 คน    มาทำการรักษาไม่ครบตามนัด มีระดับความเกร็งอยู่ระดับ 2 และผลการประเมินความพึงพอใจเนื่องจากการ
                 วัดระดับความพึงพอใจของเด็ก (ผู้เข้าร่วมวิจัย) ยังไม่สามารถสื่อสารได้ จึงทำให้ไม่สามารถสอบถามความพึงพอใจของ

               เด็กได้โดยตรง ผู้วิจัยจึงได้สอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครอง ซึ่งเป็นผู้ที่ดูแลและอยู่กับเด็กตลอดเวลา มีระดับความ
               พึงพอใจของผู้ปกครองด้านการให้บริการโดยการทำหัตถการด้วยการนวดและประคบสมุนไพร อยู่ในระดับมาก และ

               ความพึงพอใจในการให้บริการของเจ้าหน้าที่อยู่ในระดับมากที่สุด
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24