Page 21 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (วารสารเสริม) 2563
P. 21

21
        Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine   Vol.18 No.2 May-August (Supplement) 2020




                                    emR2R61 : ประสิทธิผลของยาหอมเทพจิตรต่อการลดความดันโลหิตในประชากร
                                    อายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีค่าความดันโลหิตอยู่ในกลุ่ม High normal


                                                                             2
                            1
                                           1
                                                         1
               ธิดารัตน์  แอนิ่ม , อุบลรัตน์  รัตนอุไร , ประภาส  สงบุตร ,สุทธินัย จิรสุวรรณประภา , ณัฏฐากร  พงศ์เศรษฐ์กุล 2
                 1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน ต.ควนมะพร้าว อ.เมืองพัทลุง จ.พัทลุง
                 โรงพยาบาลพัทลุง อ.เมืองพัทลุง จ.พัทลุง
                2
                       หลักการและเหตุผล โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สามารถป้องกันได้ แต่มีแนวโน้มรุนแรง
               มากขึ้น    มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี จากสถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทยจากข้อมูลสำนักนโยบาย

               และยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ต่อประชากรแสน
               คนในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2556 – 2560) เพิ่มขึ้นจาก 12,342.14 ต่อแสนประชากร เป็น 14,926.47 ต่อแสน

               ประชากร ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงของประชากรจังหวัดพัทลุงและโรงพยาบาลส่งเสริม

               สุขภาพตำบลบ้านสวนที่มีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นเดียวกัน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงถึง 8,121.90 บาท/คน/ปี ในการ
               รักษาพยาบาล (วิน เตระเคหะกิจ, 2559) ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การป้องกันประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีค่า

               ความดันโลหิตอยู่ในกลุ่ม High normal ไม่ให้กลายเป็นกลุ่มป่วย มีการศึกษาวิจัยแบบ R2R ในกลุ่มเป้าหมาย 8 ราย

               ที่มีค่าความดันโลหิตอยู่ในกลุ่มป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง และกลุ่มที่มีค่าความดันโลหิตอยู่ในกลุ่ม High normal
               ใช้เวลาในการศึกษา 2 สัปดาห์ พบว่ายาหอมเทพจิตร มีแนวโน้มทำให้ค่าความดันโลหิตลดลง (ธานี สุขไชย, 2558)

               ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเป็นการศึกษาประสิทธิผลของยาหอมเทพจิตรต่อการลดความดันโลหิตเพื่อเป็นทางเลือกในการใช้
               ยาหอมเทพจิตรเพื่อลดความดันโลหิตสูงต่อไป


                       วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของยาหอมเทพจิตรต่อการลดความดันโลหิตในประชากรที่มีอายุ 35 ปี
               ขึ้นไปที่มีค่าความดันโลหิตอยู่ในกลุ่ม High normal


                      วิธีดำเนินการ เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมทดลองในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีค่า
                 ความดันโลหิตอยู่ในกลุ่ม High normal สุ่มด้วยวิธีการสุ่มแบบมีระบบอย่างง่าย คำนวณขนาดตัวอย่างได้จำนวน 72

               ตัวอย่าง ดึงข้อมูลประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีค่าความดันโลหิตอยู่ในกลุ่ม High normal จำนวน 528 คน จาก

               ระบบฐานข้อมูล HDC (ฐานข้อมูล HDC, 2562) จัดทำเป็นทะเบียนประชากรเรียงตาม เพศ, อายุ, ค่าความดันโลหิต

               ตัวบน และค่าความดันโลหิตตัวล่าง ช่วงของการสุ่มคำนวณได้เท่ากับ 7 สุ่มตัวอย่างแรกเข้ากลุ่มทดลอง ส่วนตัวอย่างที่

               สองที่สุ่มได้ให้เข้ากลุ่มควบคุมสลับไปจนครบ โดยกลุ่มทดลอง จำนวน 36 ราย ให้กินยาหอมเทพจิตร ขนาด 500

               มิลลิกรัม ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 2 ครั้งหลังอาหารเช้าและเที่ยง และกลุ่มควบคุม จำนวน 36 ราย กินยาหลอก

                 ขนาด 500 มิลลิกรัม ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 2 ครั้งหลังอาหารเช้าและเที่ยง นาน 4 สัปดาห์ ก่อนเข้าร่วมงานวิจัยใน
                 ครั้งนี้กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย จากแพทย์แผน

               ปัจจุบัน แบบสอบถามได้จากการศึกษาเนื้อหาเอกสาร ทบทวนวรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุม

               เนื้อหาสามารถวัดได้ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์การวิจัย โดยมีผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ประสบการณ์ตรวจสอบ
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26