Page 28 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (วารสารเสริม) 2563
P. 28

28      วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก        ปี ที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (ฉบับเสริม) 2563






                                   62I007 : นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากต้นดอกเข้าพรรษาและผลิตภัณฑ์นม




                                            2
                                1
               ชวัลวลัย เมฆสวัสดิชัย  , ไฉน น้อยแสง
               1 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี
               2 วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

                       หลักการและเหตุผล ต้นเข้าพรรษาสายพันธุ์ Globba schomburgkii Hook. f. เป็นไม้ดอกไม้ประดับที่
               สำคัญต่อจังหวัดสระบุรี ทั้งในด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ถึงแม้จะมีรายงานว่าพืชหลายชนิดในสกุล Globba มีฤทธิ์
               ทางเภสัชวิทยาที่หลากหลาย โดยเฉพาะสรรพคุณแก้คัน แต่ยังไม่มีการศึกษาสรรพคุณทางยาของ Globba
               schomburgkii Hook. f. ซึ่งเป็นสายพันธุ์พื้นบ้านของสระบุรี จึงได้นำต้นดอกเข้าพรรษามาทำการประเมินทางพฤกษ

               เคมี และฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง โดยนำมาวิจัยและพัฒนา
               ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบของสบู่และอิมัลชั่น เพื่อความงามที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดสระบุรี และเป็นการส่งเสริม การ
               ปลูกให้เป็นอาชีพให้กับเกษตรกร ซึ่งสอดคล้องกับมีนโยบายของรัฐ ให้พัฒนาสมุนไพรไทยอย่างเป็นระบบและยั่งยืน
               สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจแก่ประเทศได้

                       วัตถุประสงค์ เพื่อทำการประเมินทางพฤกษเคมี และฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของต้นเข้าพรรษา โดยนำข้อมูลไป
               ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในการสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของจังหวัดสระบุรี
                       วิธีดำเนินการ ผู้วิจัยทำการเตรียมวัตถุดิบและสารสกัดจากส่วนเหง้าและรากของต้นเข้าพรรษา จากนั้นจัดทำ

               มาตรฐานวัตถุดิบเหง้าและรากเข้าพรรษา โดยการหากลุ่มสารประกอบทางเคมีเบื้องต้น (Phytochemical
               screening) ได้แก่ Qualitative (color reaction test, TLC), Total phenolic content การหาฤทธิ์ทางชีวภาพ
               (Biological activities) ได้แก่ Antioxidant activities (DDPH assay), Antibacterial activities (Disc diffusion
               method) และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product development) ได้แก่ การประเมินลักษณะ    ทางกายภาพทั่วไป
               เช่น สี กลิ่น ความขุ่น ความหนืด การแยกชั้น ค่า pH, การทดสอบการแพ้ในคนจำนวน 13 คน

                        ผลการศึกษา ปริมาณร้อยละผลผลิต (%yield) สารสกัดรากต้นดอกเข้าพรรษาสูงกว่าสารสกัดเหง้าต้นดอก
                เข้าพรรษาและน้ำมันหอมระเหยจากส่วนรากเล็กน้อย สารสกัดรากต้นดอกเข้าพรรษามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
                เปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน L-Ascorbic acid ค่าความเข้มข้น 1.63±0.21 (μg/ml) และ Trolox ค่าความเข้มข้น

                2.48±0.54 (μg/ml) และสารสกัดรากต้นดอกเข้าพรรษามีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดสูงสูดแต่น้อยกว่าสาร
                มาตรฐานที่นำมาใช้ในการทดสอบ (หาปริมาณโดยเทียบกับกราฟมาตรฐานของกรดแกลลิก) สารสกัดต้นดอก
                เข้าพรรษาสามารถยับยั้งเชื้อ Pseudomonas aeruginosa ที่ช่วงความเข้มข้น 2-4 mg/ml แต่น้อยกว่าสาร

                มาตรฐานที่นำมาใช้ในการทดสอบคือ Ciprofloxacin ที่ความเข้มข้น 1 mg/mL ผลิตภัณฑ์แดนซิ่งเลดี้ แอนด์ มิลค์
                บอดี้ ลิควิดโซฟ มีค่าความเป็นกรดด่าง 5.70 มีสีเหลืองอ่อน และผลิตภัณฑ์แดนซิ่งเลดี้ แอนด์ มิลค์บอดี้โลชั่น
                ค่าความเป็นกรดด่าง 7.08  มีสีขาวนวล ซึ่งสูตรที่พัฒนาทั้งสองผลิตภัณฑ์ มีความคงสภาพเมื่อผ่านการทดสอบความ

                คงสภาพเมื่อเวลาผ่านไป 1 เดือน รวมถึงทดสอบในสภาวะร้อน-เย็น สลับกัน (Heating & Cooling) จำนวน 7 รอบ
                มีความหนืดปานกลาง มีความคงตัวดี ไม่แยกชั้นของน้ำออกมาเมื่อเก็บในสภาวะต่าง ๆ สามารถนำไปใช้ได้อย่าง
                ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

                       ข้อสรุป ต้นดอกเข้าพรรษามีฤทธิ์ทางยา และมีสารองค์ประกอบมากมาย ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ที่ได้พัฒนาขึ้นมา
                มีความปลอดภัยต่อการนำไปใช้เพื่อความงาม
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33