Page 25 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (วารสารเสริม) 2563
P. 25
25
Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol.18 No.2 May-August (Supplement) 2020
(S.D.= ±1.07) ชอบรับประทานอาหารรสจัด ร้อยละ 48.15 (S.D.= ±0.73) ไม่มีความเครียด ร้อยละ 48.15 (S.D.=
±1.32) และนอนหลับเฉลี่ย 6 ชม./วัน เมื่อทำการทดลองในผู้ป่วยกลุ่มที่บ้วนปากด้วยผงเปลือกต้นพะยอมก่อนทำการ
ทดลองมีระดับความปวดเฉลี่ยที่ระดับ 4.48 (S.D.= ±1.5) หลังทำการทดลอง 5 วัน มีความปวดเฉลี่ยที่ระดับ 0.74
(S.D.= ±0.81) และก่อนทดลองมีขนาดแผลเฉลี่ย 4.33 มม. (S.D.= ±1.2) หลังจากวันที่ 5 มีขนาดแผลเฉลี่ย 0.78
มม. (S.D.= ±0.84) (p-value < 0.05) และกลุ่มที่บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ(กลุ่มเปรียบเทียบ) ก่อนทำการทดลองมีระดับ
ความปวดเฉลี่ยที่ระดับ 4.44 (S.D.= ±1.01) หลังทำการทดลอง วันที่ 5 มีความปวดเฉลี่ยที่ระดับ 1.81 (S.D.=
±1.03) และก่อนทดลอง มีขนาดแผลเฉลี่ย 4.33 มม. (S.D.= ±1.49) หลังจากทดลองวันที่ 5 มีขนาดแผลเฉลี่ย 1.67 มม.
(S.D.= ±1.17) (p-value < 0.05) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า หลังจากผู้ป่วยกลุ่มที่บ้วนปากด้วยผงเปลือกต้น
พะยอมมีระดับความปวดลดลงกว่ากลุ่มที่บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ (กลุ่มเปรียบเทียบ) ระดับ (p-value < 0.05)
(95%CI) (p-value =0.00) (95%CI) กลุ่มที่บ้วนปากด้วยผงเปลือกต้นพะยอม 5 วัน มีขนาดแผลลดลงกว่ากลุ่มที่บ้วน
ปากด้วยน้ำเกลือ (กลุ่มเปรียบเทียบ) (p-value < 0.05) (95%CI) ด้านความพึงพอใจต่อการใช้ยาชงเปลือกพะยอม
พบว่ามีความพึงพอใจด้านผลการรักษาเฉลี่ย 4.41 (S.D.= ±0.69) อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด
ข้อสรุป อย่างไรก็ตามการรักษาแผลในช่องปากยังต้องพัฒนาตำรับยาสมุนไพรให้อยู่ในรูปแบบและความ
เข้มข้นที่เหมาะสมโดยเน้นการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านการใช้สมุนไพรรักษาอาการแผลเปื่อยในช่องปากให้
เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้คนรุ่นหลังได้สืบทอดและพัฒนาต่อไป
คำสำคัญ แผลในช่องปาก,พะยอม,สมุนไพร
เลขที่จริยธรรมงานวิจัย KLS.REC.007/2562