Page 29 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (วารสารเสริม) 2563
P. 29

29
        Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine   Vol.18 No.2 May-August (Supplement) 2020





                                    emI14 : ผ้าก๊อซที่ผ่านการทำให้ชุ่มชื้นด้วยวาสลีนและสมุนไพร





               ธนวัฒน์  งามศรี
               โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี

                       หลักการและเหตุผล การรายงานของ รพ.สต. ผู้มารับบริการล้างแผลที่ รพ.สต.ส่วนใหญ่เป็นบาดแผลที่เกิด
               จากอุบัติเหตุทางถนน พบบาดแผลถลอก ร้อยละ 18 การรักษาผู้ป่วยในแผนกห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลส่งเสริม

               สุขภาพตำบลในเขตอำเภอกบินทร์บุรีและ อำเภอศรีมหาโพธิ ผู้ที่มารับบริการที่ห้องฉุกเฉินส่วนใหญ่เป็นบาดแผล
               ถลอกที่เกิดจากอุบัติเหตุ ปัญหาที่พบ คือผู้ป่วยบางรายที่มารับบริการล้างแผล ผู้ป่วยมีความเจ็บปวดในขณะลอกกอซ
               ออกจากแผล ประกอบกับแผลของผู้ป่วยที่มารับบริการต้องใช้เวลาในการรักษาเป็นเวลานาน จึงได้มีแนวคิดที่จะนำ

               สมุนไพร   ที่มีสรรพคุณในการรักษาแผลมาประยุกต์ใช้ จึงได้สำรวจสมุนไพรในเขตพื้นที่ของจังหวัดปราจีนบุรีพบว่ามี

               ขมิ้นชันมีสรรพคุณในการรักษาแผล ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษา “ผ้าก๊อซที่ผ่านการทำให้ชุ่มชื้นด้วยวาสลีนและสมุนไพร”
                       วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการรักษาบาดแผลถลอกโดยการใช้ผ้าก๊อซที่ผ่านการทำให้ชุ่มชื้นด้วยวาสลีน

               และสมุนไพรเปรียบเทียบกับกรณีที่ล้างแผลปกติที่ไม่ใช้ผ้าก๊อซที่ผ่านการทำให้ชุ่มชื้นด้วยวาสลีนและสมุนไพร

                       วิธีการดำเนินการ มีวัสดุอุปกรณ์ในการประดิษฐ์ มีส่วนผสมดังนี้ ขมิ้นขัน, ไพล , นํ้ามันมะพร้าว , วาสลีน,

               เมนทอล, พิมเสน และการบูร นำส่วนผสมทั้งหมดนี้มาเคี่ยวให้เข้ากัน และนำมาผสมกับผ้ากอซ บรรจุลงในภาชนะ
               สำหรับส่งนึ่งแล้วส่งนึ่ง sterile ที่ห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลเพื่อฆ่าเชื้อ ตัวชี้วัด (KPI) และผลลัพธ์การคำนวณ

               ค่าใช้จ่าย ทางด้านการบริหารทรัพยากรการใช้ผ้าก๊อซที่ผ่านการทำให้ชุ่มชื้นด้วยวาสลีนและสมุนไพร ต่อจำนวน 1
               แผ่น ด้านการใช้ทรัพยากรสมุนไพร ขมิ้นชัน ไพล น้ำมันมะพร้าวใช้ทรัพยากรจากท้องถิ่น = 0 บาท วาสลีนบริสุทธิ์
               20 ก. 4 บาท, เมนทอล 1 ก. 1.5 บาท พิมเสน 1 ก. 0.99 บาท, การบูร 1 ก. 0.46 บาทการผลิตนวัตกรรมต่อจำนวน

               1 แผ่น เท่ากับ 7.08 บาท ผลลัพธ์ (KPI) การคำนวณค่าใช้จ่าย ทางด้านการบริหารทรัพยากรการใช้ตาข่ายกันการติด
               ของแผลต่อจำนวน 1 แผ่น (เมื่อเทียบกับหน่วยงานที่ใช้ภายในประเทศและต่างประเทศ) คำนวณอัตราส่วนค่าใช้จ่าย

               Sofra  tulle (แผ่นตาข่ายปิดแผล) อยู่ในแผ่นละ 23 บาท เท่ากับ/ผลงานนวัตกรรม เท่ากับ 3/1 สรุปผลผลลัพธ์การ
               คำนวณค่าใช้จ่ายทรัพยากร ประหยัดการใช้ทรัพยากรเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการพัฒนานวัตกรรมได้มากกว่า
               ร้อยละ 100


                       ผลการศึกษา จากการศึกษาอัตราการหายของแผลโดยใช้ผ้าก๊อซที่ผ่านการทำให้ชุ่มชื้นด้วยวาสลีนและ
               สมุนไพรของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 89 คน และกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มที่ล้างแผลปกติ พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ใช้ผ้าก๊อซ

               ที่ผ่านการทำให้ชุ่มชื้นด้วยวาสลีนและสมุนไพรจะใช้เวลา 4 วัน แผลถึงหายดี ส่วนกรณีที่ล้างแผลปกติ 89 คน ส่วน
               ใหญ่จะใช้เวลา 8 วัน ในการรักษาแผลให้หายดี

                      ข้อสรุป ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการใช้นวัตกรรมซึ่งเป็นทางเลือกในการรักษาบาดแผล

               ถลอกประหยัดเวลาและประหยักทรัพยากรได้ดี เป็นการใช้สมุนไพรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34