Page 22 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (วารสารเสริม) 2563
P. 22
22 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปี ที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (ฉบับเสริม) 2563
จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ แพทย์แผนปัจจุบัน นักวิชาการสาธารณสุข และพยาบาลวิชาชีพ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข
เนื้อหาตามที่ได้รับคำแนะนำก่อนนำเครื่องมือไปทดสอบ และได้ตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถามด้วยการหาค่า
ความเที่ยงด้วยสูตรสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของครอนบาค ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.85 ข้อมูลทั่วไปของ
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ครอบครัวต่อเดือน ความพอเพียงของรายได้
ประวัติโรคความดันโลหิตสูงในครอบครัว อายุ ระยะเวลาที่พบว่าอยู่ในกลุ่ม High normal พฤติกรรมสุขภาพด้านการ
รับประทานอาหารการออกกำลังกาย และการจัดการความเครียด ก่อนการทดลอง พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน
ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) และแบบบันทึกค่าความดันโลหิตก่อน –
หลัง ตามแนวตามแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป 2562 เปรียบเทียบผลการจำแนกความ
รุนแรงของโรคความดันโลหิตเป็นรายบุคคลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ Chi square test
ผลการศึกษา หลังจากการทดลองครบ 4 สัปดาห์พบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับยาหอมเทพจิตร จำนวน 36 ราย
มีค่าความดันโลหิตลดลงมาอยู่ในกลุ่ม normal จำนวน 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 58.33 ส่วนกลุ่มควบคุมที่ได้รับยา
หลอก มีค่าความดันโลหิตลดลงมาอยู่ในกลุ่ม normal จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.89 ซึ่งมีความแตกต่างกัน
2
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (X = 15.41, df = 3, p<0.01)
ข้อสรุป จากผลการวิจัยพบว่ายาหอมเทพจิตรสามารถที่จะลดความดันโลหิตในกลุ่มที่มีค่าความดันโลหิต
High normal ได้ ซึ่งอาจเป็นทางเลือกเพิ่มเติมในการให้ยาหอมเทพจิตรร่วมกับการให้คำแนะนำเกี่ยวกับอาหาร
อารมณ์ และการออกกำลังกาย การงดสูบบุหรี่และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อันจะช่วยลดจำนวนผู้ป่วย โรคความ
ดันโลหิตสูงรายใหม่ลงได้