Page 23 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (วารสารเสริม) 2563
P. 23
23
Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol.18 No.2 May-August (Supplement) 2020
162R2RI001 : การศึกษาผลของบาล์มจากสารสกัดดอกมะลิต่อคุณภาพการนอน
หลับในผู้สูงอายุ
1
2
กรุณา เจริญนวรัตน์ , พรรณรวี ชัยสิทธิ์ , ณัชมิญ แม่นปืน , ธัญญา แซ่ตั๊น 1
1
1 โรงพยาบาลบ้านโพธิ์ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเทพราช อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา
2
หลักการและเหตุผล ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ซึ่งปัญหาการนอนไม่หลับ
(insomnia) เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และ
สังคมเป็นอย่างมาก ซึ่งในอำเภอบ้านโพธิ์มีผู้สูงอายุที่นอนไม่หลับมาขอรับการรักษาโดยการใช้ยาที่รพ.สต.จำนวนมาก
แต่พบว่าเมื่อรับประทานยาติดต่อเป็นเวลานาน ๆ จะมีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยได้ จากวิถีชีวิตของคนไทยที่ผูกพันธ์กับ
การใช้ดอกมะลิมานานแล้ว อีกทั้งการแพทย์แผนไทยยังใช้ดอกมะลิมาเป็นยา น้ำกระสายยา และจากการศึกษาวิจัย
พบว่า สารสกัดด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ของดอกมะลิ มีฤทธิ์สงบระงับ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาผลของบาล์มจาก
สารสกัดดอกมะลิต่อคุณภาพการนอนหลับในผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการนอนหลับมีคุณภาพการนอนหลับ
ที่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของบาล์มจากสารสกัดดอกมะลิต่อคุณภาพการนอนหลับในผู้สูงอายุ
วิธีดำเนินการ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Research) โดยทำการ
คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 70 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองจำนวน 35 คน จะได้รับบาล์มจากสารสกัดดอกมะลิ เพื่อใช้ทาก่อนนอน
ทุกครั้ง เป็นเวลา 7 วัน และกลุ่มควบคุมจำนวน 35 คน จะได้รับยาหลอก เพื่อใช้ทาก่อนนอน ทุกครั้ง เป็นเวลา 7
วัน มีการวัดผลโดยใช้แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ PSQI (Pittsburgh Sleep Quality Index) เป็นตัววัดผล
คุณภาพการนอนหลับก่อนและหลังการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบผลการทดลอง
ผลการศึกษา พบว่าเมื่อเปรียบเทียบคะแนนคุณภาพการนอนหลับ (PSQI) ของผู้สูงอายุ ก่อนและหลังได้รับ
บาล์มจากสารสกัดดอกมะลิ ภายหลังได้รับบาล์มจากสารสกัดดอกมะลิคะแนน PSQI ของผู้สูงอายุ ลดลงอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p < 0.01) ซึ่งทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนหลับที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนใช้ และเมื่อ
เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนน PSQI ของผู้สูงอายุหลังได้รับบาล์มจากสารสกัดดอกมะลิเทียบกับยาหลอก
ภายหลังการทดลองพบว่า กลุ่มที่ได้รับบาล์มจากสารสกัดดอกมะลิมีคะแนน PSQI ลดลงเฉลี่ย 8.43 และกลุ่มที่ได้รับ
ยาหลอกมีคะแนน PSQI ลดลงเฉลี่ย 9.46 ซึ่งกลุ่มที่ได้รับบาล์มจากสารสกัดดอกมะลิ มีคะแนน PSQI ลดลงแตกต่าง
กันกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p < 0.05)
ข้อสรุป ผลจากการทดลองบาล์มจากสารสกัดดอกมะลิ ช่วยทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนหลับที่ดีขึ้นอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติ มีความปลอดภัย อาจใช้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลผู้สูงอายุที่มีอาการนอนไม่หลับได้