Page 16 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (วารสารเสริม) 2563
P. 16
16 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปี ที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (ฉบับเสริม) 2563
emSI77 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขัดผิวจากข้าวสังข์หยด
มารีดี ยูโซ๊ะ, เอาดีย์ หวันเมือง, ปิยะนุช สุวรรณรัตน์, ศิริรัตน์ ศรีรักษา
สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
หลักการและเหตุผล ปัจจุบันข้าวที่มีความสำคัญของภาคใต้ คือ ข้าวสังข์หยด (Oryza sativa L.) เป็นพันธุ์
ข้าวเฉพาะถิ่นที่มีแหล่งปลูกดั้งเดิมอยู่ในจังหวัดพัทลุง โดยข้าวสังข์หยดมีการนำมาแปรรูปในรูปแบบต่าง ๆ เช่น
ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม (wanvismo, 2562) ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว (MGR Online, 2560) และกาแฟข้าวสังข์หยด
(อัสวิน ภักฆวรรณ, 2560) ข้าวสังข์หยดมีวิตามินอีสูงกว่าข้าวชนิดอื่น ซึ่งในวิตามินอีมีสารแกมมา โอริซานอลที่มี
สรรพคุณช่วยให้ผิวพรรณเต่งตึง เพิ่มการไหลเวียนของเลือด และสร้างความกระจ่างใสของผิวหนัง (บลินดา อิน
มณเฑียร, 2553) จากคุณสมบัติดังกล่าวของข้าวสังข์หยด คณะผู้วิจัยจึงสนใจพัฒนาข้าวสังข์หยดในรูปแบบผลิตภัณฑ์
ขัดผิวกาย โดยนำสมุนไพรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและเพิ่มประสิทธิภาพในการ ขัดผิวกายมาเป็นส่วนประกอบ เช่น
มะขาม ช่วยทำให้มีการหลุดลอกของผิวชั้นนอก และกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ (เต็ม สมิตินันทน์, 2544) งาดำมี
สรรพคุณช่วยให้เกิดการหลุดลอกของเซลล์ผิวที่ตายแล้ว (นาถธิดา วีระปรียากูร และคณะ, 2556) ดีเกลือฝรั่ง มี
สรรพคุณช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขัดผิว (JEN, 2017) และมะพร้าว มีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระ และช่วยเพิ่ม
ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง (จรัสศรี วงศ์กำแหง, 2555) โดยทำการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพ ประเมินความกระจ่างใส
และความชุ่มชื้นของผิวหนัง และประเมินความพึงพอใจของอาสาสมัครสุขภาพดี เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวไทย และ
เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวสังข์หยดในรูปแบบอื่นต่อไป
วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ขัดผิวจากข้าวสังข์หยด ศึกษาประสิทธิผลความกระจ่างใสและความชุ่ม
ชื้นของผิวหนัง และประเมินความพึงพอใจของอาสาสมัครสุขภาพดีต่อผลิตภัณฑ์ และรูปแบบบรรจุภัณฑ์
วิธีดำเนินการ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขัดผิวจากข้าวสังข์หยด ศึกษา
คุณสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ ลักษณะ สี กลิ่น ความหนืด สิ่งแปลกปลอม และทดสอบค่า pH จากนั้นคัดเลือก
ผลิตภัณฑ์ขัดผิวที่มีคุณสมบัติทางกายภาพเหมาะสมที่สุดไปทดสอบในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 25 คน โดยให้
อาสาสมัครทาผลิตภัณฑ์ทดสอบสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ประเมินความกระจ่างใสและ
ความชุ่มชื้นของผิวหนัง และประเมินความพึงพอใจของอาสาสมัคร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานเกี่ยวกับค่าร้อย
ละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติ Paired T-Test
ผลการศึกษา ผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขัดผิวจากข้าวสังข์หยด พบว่า ผลิตภัณฑ์ขัดผิวจากข้าวสังข์หยดที่มี
คุณสมบัติเหมาะสมที่สุด ประกอบด้วย ข้าวสังข์หยด มะขาม ดีเกลือฝรั่ง งาดำ และมะพร้าวอบแห้งในอัตราส่วน ร้อย
ละ 40, 20, 20, 10 และ 10 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์มีเนื้อสัมผัสหยาบปานกลาง มีสีน้ำตาลเข้ม สีไม่สม่ำเสมอ มีกลิ่น
หอมของน้ำนมข้าวผสมงาดำอ่อนๆ ไม่มีสิ่งแปลกปลอม มีค่า pH เท่ากับ 5 ผลการทดสอบความกระจ่างใสและความ
ชุ่มชื้นในอาสาสมัครจำนวน 25 คน พบว่า ผิวหนังของอาสาสมัคร มีความกระจ่างใสและความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้นอย่าง