Page 15 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (วารสารเสริม) 2563
P. 15

15
        Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine   Vol.18 No.2 May-August (Supplement) 2020





                                  emR2R63 : การศึกษาประสิทธิผลของตำรับกลีบบัวแดงในผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ



               อารีวรรณ ต้นทัพไทย, กัญญารัตน์ ระลึกชอบ, นภัสชญา เกษรา, ปวัชสรา คัมภีระธัม

               กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี

                       หลักการและเหตุผล การนอนไม่หลับส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนทั่วโลกมากกว่าร้อยละ 45 ของประชากร
               ทั้งหมด ในขณะเดียวกันประเทศไทยก็ประสบปัญหาการป่วยจากการนอนไม่หลับถึงร้อยละ 7 ของประชากร
               โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้รับตำรับสมุนไพรพื้นบ้าน “กลีบบัวแดง” มาใช้ในผู้ที่มีปัญหาการนอนไม่หลับ
               ตั้งแต่ปี 2560 โดยตำรับกลีบบัวแดงประกอบด้วย กลีบบัวหลวงสีแดง บัวบก และพริกไทย

                       วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของตำรับกลีบบัวแดงในผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ

                       วิธีดำเนินการ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ Actual Use Research ดำเนินการที่กลุ่มงาน

               การแพทย์   แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2560 –
               5 มกราคม 2563 ในกลุ่มตัวอย่างที่มีอาการนอนไม่หลับ คือ ประเมินคุณภาพการนอนหลับที่ดัดแปลงมาจากแบบวัด
               ดัชนีคุณภาพการนอนหลับของ มหาวิทยาลัยพิตส์เบิร์ก (Pittsburgh Sleep Quality Index [PSQI]) ได้มากกว่า 5
               คะแนนขึ้นไป อายุระหว่าง 20-70 ปี จำนวน 50 คน  โดยอาสาสมัครจะได้แคปซูลกลีบบัวแดง โดยกินครั้งละ 2

               แคปซูล (ขนาด 400 มิลลิกรัม/แคปซูล) วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า และเย็น เป็นเวลาต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ เครื่องมือ
               ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล การใช้ยานอนหลับ คุณภาพการนอนหลับ และสมุดบันทึก
               ประจำตัวสำหรับบันทึกอาการไม่พึงประสงค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณนา และ และ Paired
               t-test

                       ผลการศึกษา อาสาสมัครจำนวน 50 คน อายุเฉลี่ย 48.48±14.31 ปี เป็นเพศหญิง 33 คน (ร้อยละ 66.0)

               เป็นเพศชาย 17 คน (ร้อยละ 34.0) มีธาตุเจ้าเรือนเป็นวาตะมากที่สุด 26 ราย (ร้อยละ 52.0) รองลงมาเป็นธาตุเจ้า
               เรือนเสมหะ และธาตุเจ้าเรือนปิตตะ-วาตะ จำนวน 11 ราย (ร้อยละ 22.0) และ 5 ราย (ร้อยละ 10.0) ตามลำดับ
               อาสาสมัครจำนวน 34 คน (ร้อยละ 68.0) มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ และมี 11 คน (ร้อยละ 24.0) มีภาวะอ้วน
               ระดับ 1 และ 2  อาสาสมัครส่วนใหญ่ (ร้อยละ 76.0) ไม่มีประวัติกินยานอนหลับมาก่อน PSQI ก่อนเริ่มกินตำรับกลีบ

               บัวแดง 12.22±3.12 เมื่อกินแล้ว พบว่าค่า PSQI เท่ากับ 8.66±2.23, 7.12±3.23, 6.26±2.72 และ 5.30±2.61
               ในสัปดาห์ที่ 1, 2, 3 และ 4 ตามลำดับ โดยค่า PSQI ลดลงอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่สัปดาห์แรกของการกินตำรับกลีบบัว
               แดง (p<0.01) ส่วนอาการไม่พึงประสงค์หลังการกินตำรับกลีบบัวแดง พบว่ามี 5 ราย (ร้อยละ 10.0) ใน 3 สัปดาห์

               แรก และลดลงเหลือ 3 ราย (ร้อยละ 6.0)  ในสัปดาห์ที่ 4 โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่พบ ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย หน้า
               มืด/วิงเวียน ท้องผูก ร้อนท้อง และแน่นหน้าอก/แสบร้อนยอดอก

                       ข้อสรุป ตำรับกลีบบัวแดงทำให้อาสาสมัครมีคุณภาพในการนอนหลับดีขึ้น ตั้งแต่สัปดาห์แรก และมีความ
               ปลอดภัยดี ถึงแม้อาสาสมัครจะพบอาการไม่พึงประสงค์ แต่ไม่รุนแรง เนื่องจากอาสาสมัครอยู่ร่วมโครงการจนจบ แต่

               อย่างไรก็ตามในอนาคตจำเป็นต้องเพิ่มขนาดกลุ่มตัวอย่างให้มากขึ้น และศึกษาในกลุ่มอาสาสมัครที่มีประวัติการใช้ยา
               นอนหลับเพื่อดูประสิทธิผลในการใช้ทดแทนยานอนหลับต่อไป
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20