Page 14 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (วารสารเสริม) 2563
P. 14

14      วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก        ปี ที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (ฉบับเสริม) 2563





                                 262R2RI007 : ผลการประคบร้อนด้วยถุงสมุนไพรและถุงประคบเจลต่อความปวด
                                 ประสาทส่วนปลายขณะได้รับยา Oxaliplatin ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่



               จารุณี  ชูเชิดรัตนา, ปณิตา คุณสาระ
               โรงพยาบาลเลิดสิน

                       หลักการและเหตุผล ยาเคมีบำบัด oxaliplatin มีผลข้างเคียงคือภาวะเป็นพิษต่อระบบประสาทส่วนปลาย
               ผู้ป่วยมะเร็งมักเกิดขณะได้รับยาหรือได้รับยาเสร็จใหม่ๆ บางรายมีอาการปวดรุนแรง การให้ยาบรรเทาปวดกลุ่ม

               NSAID หรืออนุพันธ์ฝิ่น ไม่สามารถบรรเทาความปวด การใช้ความร้อนประคบเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ใช้เป็นการรักษา
               เสริมจากการรักษามาตรฐาน ปัจจุบันมีการใช้แผ่นเจลประคบร้อนเพื่อบรรเทาอาการปวด แต่มักเกิดการระคายเคือง
               เมื่อสัมผัสกับเนื้อสารเคมีและมีราคาแพง ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาการนำวัสดุธรรมชาติและส่วนผสมของสมุนไพรที่มี

               ศักยภาพในการพัฒนาเป็นถุงประคบร้อน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งและเพิ่มโอกาสการเข้าถึงวิธีการ
               บำบัดรักษาด้วยความร้อนให้ผู้ป่วยสะดวกขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

                       วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลของการประคบร้อนด้วยถุงสมุนไพรและถุงเจลประคบร้อน ต่ออาการปวด
               ชาปลายประสาทในผู้ป่วยที่ได้รับยา oxaliplatin

                       วิธีดำเนินการ การศึกษาแบบทดลองแบบไขว้กัน Therapeutic research แบบ Crossover design ใน
               ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้รับยาเคมีบำบัดกลุ่ม Oxaliplatin จำนวน 14 ราย ใช้การสุ่มแบบ block of 4 เพื่อลำดับ
               การประคบด้วยถุงสมุนไพร (ถุงผ้า บรรจุด้วย การบูร ผิวมะกรูด ขมิ้นชัน ตะไคร้ ข้าวสารและเกลือ) หรือถุงประคบ

               เจล ทำการประเมินอาการปวดก่อนวางอุปกรณ์ประคบร้อนตามลำดับที่สุ่มได้ โดยวางบริเวณแขนที่ให้ยาหรือบริเวณที่
               รู้สึกปวดชาประมาณ 20 นาที ตรวจสอบผิวหนังของผู้ป่วยบริเวณที่ประคบความร้อนทุก 5 นาที เมื่อครบตามเวลาที่
               กำหนดทำการประเมินความปวดทันทีและตรวจสอบผิวหนังผู้ป่วยอีกครั้ง เมื่อผู้ป่วยมารับยาเคมีบำบัดรอบถัดไป

               ผู้วิจัยสลับให้ได้รับการประคบอีกแบบสลับกับครั้งแรกโดยมีขั้นตอนการปฏิบัติเหมือนกันจนครบ 2 รอบของการศึกษา
               แต่ละรอบห่างกัน 2 สัปดาห์ตามแผนการรักษา เปรียบเทียบความแตกต่างของความปวดระหว่าง 2 กลุ่ม ด้วยสถิติ
               independent t-test ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โรงพยาบาลเลิดสิน

                       ผลการศึกษา ความปวดก่อนการประคบของทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกัน (p-value=0.674) โดย
               ค่าเฉลี่ยความปวดก่อนประคบของกลุ่มที่ใช้ถุงประคบเจลและถุงสมุนไพรประคบร้อน เท่ากับ 6.64(SD=1.4) และ

               6.48(SD=1.3) ตามลำดับ ความปวดหลังการประคบของทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกัน (p-value=0.890) ค่าเฉลี่ย
               ความปวดหลังการประคบของกลุ่มที่ใช้ถุงประคบเจลและถุงสมุนไพรประคบร้อน เท่ากับ 3.44(SD=0.65) และ
               3.16(SD=0.47) ตามลำดับ โดยถุงประคบสมุนไพรมีประสิทธิผลในการเก็บกักความร้อนเพื่อลดความปวดที่ระบบ
               ประสาทส่วนปลายในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) แต่ถุงประคบสมุนไพรราคา

               ถูก ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าถุงประคบเจลถึง 2 เท่า

                       ข้อสรุป การใช้ถุงสมุนไพรประคบร้อนอาจเป็นอีกทางเลือกในการบรรเทาอาการปวดปลายประสาทในผู้ป่วย
               มะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดในกลุ่ม Platinum (Oxaliplatin) นอกเหนือจากการใช้ถุงประคบเจลซึ่งมีสารเคมีเป็น
               ส่วนประกอบและราคาแพง
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19