Page 12 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (วารสารเสริม) 2563
P. 12
12 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปี ที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (ฉบับเสริม) 2563
emR2R26 : การรักษาผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
กรณีโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน กรุงเทพมหานคร
พอฤทัย สร้อยเพ็ชร, จิรวัฒน์ เงินเมือง
สาขาการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
หลักการและเหตุผล เนื่องจากสังคมปัจจุบันมีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง ผู้คนจึงมีความเครียดกันมาก อาการ
ปวดศีรษะจากเครียดเลยเป็นอาการที่พบมากที่สุดของกลุ่มอาการปวดศีรษะแบบปฐมภูมิ ซึ่งส่งผลกระทบต่อด้าน
ร่างกาย จิตใจ และสังคมของผู้ป่วย การรักษาอาการปวดศีรษะจากความเครียดมีทั้งการใช้ยาและศาสตร์การแพทย์
ทางเลือกอื่น ๆ การนวดไทยเป็นการรักษาทางเลือกที่เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางเพื่อใช้ในการบำบัดรักษาโรคแบบไม่
ใช้ยา นอกจากนี้การกดจุดสะท้อนเท้ายังเป็นอีกศาสตร์การรักษาที่ถูกนำมาใช้ในการบำบัด หรือรักษาโรคต่าง ๆ ใน
ประเทศไทยการศึกษาถึงผลของการนวดไทยแบบราชสำนักและการกดจุดสะท้อนเท้าในการบำบัดอาการปวดศีรษะ
จากความเครียด และการศึกษาเปรียบเทียบทางคลินิกยังมีไม่มากนัก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเป็นการศึกษาเปรียบเทียบ
ประสิทธิผลของการนวดไทยแบบราชสำนักและการกดจุดสะท้อนเท้าเพื่อลดอาการปวดศีรษะจากความเครียดเพื่อ
เป็นการสนับสนุนผลของการนวดไทยแบบราชสำนักและการกดจุดสะท้อนเท้า และเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการ
รักษาให้กับผู้ปวดศีรษะจากความเครียด
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการนวดไทยแบบราชสำนักต่อระดับความรู้สึกปวด ความถี่ของอาการปวด
ศีรษะ ระยะเวลาเฉลี่ยของการปวดศีรษะแต่ละครั้ง ระดับความรู้สึกกดเจ็บ องศาการเคลื่อนไหวคอ และระดับ
ความเครียดเปรียบเทียบกับการกดจุดสะท้อนเท้าในผู้ที่มีอาการปวดศีรษะจากความเครียด และเป็นการสนับสนุนผล
ของการนวดไทยแบบราชสำนักและการกดจุดสะท้อนเท้าในการนำมาใช้ทางคลินิกในการรักษาอาการปวดศีรษะจาก
ความเครียด
วิธีดำเนินการ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วัดผลก่อนและหลังการทดลองในกลุ่มอาสาสมัครที่มี
คุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเลือกเข้า 30 คน โดยการสุ่มให้ได้รับการบำบัดด้วยการนวดไทยแบบราชสำนักและการกดจุด
สะท้อนเท้ากลุ่มละ 15 คน บำบัดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 สัปดาห์ โดยการใช้แบบสอบถามแบบประเมินระดับ
อาการปวดศีรษะ หรือ pain scale แบบประเมินความเครียด (ST5) โดยกรมสุขภาพจิต เครื่องมือ algometer เพื่อวัด
ระดับความรู้สึกกดเจ็บ และเครื่องมือ goniometer เพื่อวัดองศาการเคลื่อนไหวคอ
ผลการศึกษา พบว่าเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการทั้งสองกลุ่มสามารถลดระดับความรู้สึก
ปวดศีรษะ เพิ่มระดับความรู้สึกกดเจ็บ เพิ่มองศาการเคลื่อนไหวคอ ลดความถี่ของอาการปวดศีรษะ ลดระยะเวลา
เฉลี่ยของอาการปวดศีรษะแต่ละครั้ง และลดระดับความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในขณะที่
เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่ากลุ่มกดจุดสะท้อนเท้าสามารถลดความถี่ของอาการปวดศีรษะ และลดระดับ
ความเครียดได้ดีกว่า กลุ่มนวดไทยแบบราชสำนัก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การติดตามผล หลังการบำบัด
1 สัปดาห์ พบว่าระดับการปวดศีรษะ ความถี่ในการปวดศีรษะ ระยะเวลาเฉลี่ยในการปวดศีรษะของผู้เข้าร่วมโครงการ
ลดลง