Page 11 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (วารสารเสริม) 2563
P. 11

11
        Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine   Vol.18 No.2 May-August (Supplement) 2020


                          4)   แบ่งบรรจุใส่ขวดขนาด 20 มล.
                          5)   ติดฉลากยา

               สรรพคุณยา รักษาโรคเชื้อราที่เล็บ

               วิธีใช้ เขย่าขวดก่อนใช้ยา หยดยาบริเวณที่มีอาการ ครั้งละ 1-2 หยด วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น

               ขนาดบรรจุ 20 มล. (460 หยด)


                       ผลการศึกษา การศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราในห้องปฏิบัติการ โดยทดสอบฤทธิ์ต้าน เชื้อรา Candida albicans
               ด้วยวิธี Disk Diffusion Method ที่สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่ง

               ผลการทดสอบพบว่ายา “ยารักษาโรคเชื้อรา ตำรับหมอชุบ แป้นคุ้มญาติ ๑ ” (ก่อนหน้านี้ เรียกชื่อยาตำรับนี้ว่า ยาน

               ขาพิการ ๑ ) ปริมาตร 20 มคล. เทียมเท่าปริมาณบอแรกซ์ 6 มล.  มีฤทธิ์ต้านเชื้อราต่อเชื้อ C. albicans
               DMST5815   ที่ทำการศึกษา ได้ไม่น้อยกว่ายา Posaconazole, Itraconazole, Fluconazole, Amphotericin,

               Caspofungin และ Voriconazole

                       พบว่าภายหลังการใช้ยา อาการและอาการแสดงของโรคเชื้อราที่เล็บของผู้ป่วยทุกคนดีขึ้น มีอัตราการหาย

               ของความเจ็บปวดขณะกดที่ขอบเล็บ/เล็บ ร้อยละ 100 หลังจากใช้ยา 1.5 เดือน อาการคันที่ขอบเล็บ/ใต้เล็บ ร้อยละ
               100 หลังจากใช้ยา 2 เดือน  อาการแดงที่ขอบเล็บ ร้อยละ100  หลังจากใช้ยาเฉลี่ย 1.32 เดือน อาการบวมที่ขอบเล็บ

               ร้อยละ 100 หลังจากใช้ยาเฉลี่ย 1.52 เดือน อาการเล็บเปราะ ร้อยละ 100 หลังจากใช้ยาเฉลี่ย 2.57 เดือน ได้แก่

               เล็บเปื่อยยุ่ย มีอัตราการหาย ร้อยละ 94.74 เล็บเสียรูปหรือเปลี่ยนรูปร่าง ร้อยละ 74.19 เล็บเปลี่ยนสี ร้อยละ 59.38
               เล็บแยกจากหนังใต้เล็บ ร้อยละ 54.55 เล็บเป็นแถบริ้ว ร้อยละ 38.89 และเล็บขรุขระเป็นปื้น ร้อยละ 35.71 ในขณะ

               ที่ ผลการตรวจหาเชื้อราด้วยวิธี 10% KOH ภายหลังการรักษา 6 เดือน ตรวจไม่พบเชื้อรา ร้อยละ50 ไม่พบอาการ
               ข้างเคียงจากการใช้ยา ส่วนความพึงพอใจต่อการใช้ยามีค่าเฉลี่ย 4.84±0.07 (ค่าเป็นไปได้ คือ 1-5)


                       ข้อสรุป จากการศึกษาพบว่ายารักษาโรคเชื้อรา ตำรับหมอชุบ แป้นคุ้มญาติ ๑ มีประสิทธิผลในการรักษาเชื้อ
               ราที่เล็บ มีความปลอดภัยในการใช้ยาและผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการใช้ยามากที่สุด ในอนาคตควรมีการศึกษาความ

               คงตัวของยาตำรับนี้เพิ่มเติมต่อไป
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16