Page 97 - วารสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 17 ฉบับที่ 3
P. 97
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 17 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2562 Vol. 17 No. 3 September-December 2019
นิพนธ์ต้นฉบับ
ประสิทธิผลเบื้องต้นของยาทาพระเส้นเพื่อลดอาการปวดเข่า
ของผู้ป่วยโรคลมจับโปงแห้งเข่าทางการแพทย์แผนไทย
มนตร์ปาจรีย์ ณ ร้อยเอ็ด , พาสินี บัวกุม , เพ็ญพิมล จิตรวุฒิวาสน์ , อุไรลักษณ์ วันทอง §
*,¶
†
‡
สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 44000
*
สำานักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
†
สาขาเภสัชกรรมไทย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002
‡
เจสหคลินิก แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10100
§
ผู้รับผิดชอบบทความ: monpacharee.n@msu.ac.th
¶
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลเบื้องต้นของยาทาพระเส้นในการบรรเทาอาการปวดเข่าจาก
โรคลมจับโปงแห้งเข่าทางการแพทย์แผนไทย เป็นการศึกษาผู้เข้าร่วมวิจัยที่มีอาการปวดเข่า โดยการวินิจฉัยของแพทย์
แผนไทยประยุกต์ ว่าเป็นโรคจับโปงแห้งเข่า ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำาบลบ้านเหล่าสามัคคี ตำาบล
พระเจ้า อำาเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด จำานวน 50 คน โดยสุ่มแบบ randomized double-blinded controlled trial แบ่ง
กลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 25 คนเท่ากัน กลุ่มที่ 1 เป็นผู้ที่ได้รับยาทาพระเส้น กลุ่มที่ 2 เป็นผู้ที่ได้รับยาหลอก โดย
ให้ผู้เข้าร่วมวิจัยทายาบริเวณเข่า วันละ 3 ครั้ง เวลาเช้า กลางวัน และก่อนนอน ติดต่อกันเป็นเวลา 7 วัน ประเมินผล
ก่อนและหลังการใช้ยาด้วยแบบสอบถามและแบบบันทึกข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การวิเคราะห์ข้อมูลแบบประเมินระดับความเจ็บปวด Visual Analog Scale (VAS) แบบประเมินอาการโรคข้อเข่าเสื่อม
Western Ontario and McMaster University (WOMAC) เครื่องมือวัดองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่า โกนิโอมิเตอร์
(goniometer) ใช้ paired sample t-test และการเปรียบเทียบหลังการรักษาระหว่างกลุ่มใช้ independent sample t-test
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นเพศหญิง จำานวน 33 คน (ร้อยละ 66.0) มีช่วงอายุ 60-69 ปี จำานวน 14 คน
(ร้อยละ 28.0) ข้อมูลกลุ่มที่ 1 ระดับความปวดข้อเข่าลดลง ระดับอาการข้อเข่าฝืดลดลง ระดับความสามารถในการ
ใช้งานข้อเข่าดีขึ้น และองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าดีขึ้น ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วน
กลุ่มที่ 2 ระดับความปวดข้อเข่าเพิ่มขึ้น ระดับอาการข้อเข่าฝืดเพิ่มขึ้น ระดับความสามารถในการใช้งานข้อเข่าลดลง
และองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าลดลง ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ (p > 0.05) เมื่อเปรียบ
เทียบระดับความปวด ระดับอาการข้อเข่าฝืด ระดับความสามารถในการใช้งานข้อเข่า และองศาการเคลื่อนไหวของ
เข่า หลังได้รับยาระหว่างกลุ่ม พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างนัยสำาคัญทางสถิติ (p < 0.05) ดังนั้นยาทาพระเส้นใน
ตำารับโอสถพระนารายณ์มีประสิทธิผลเบื้องต้นในการลดอาการปวดเข่า ลดอาการข้อเข่าฝืด ทำาให้ความสามารถใน
การใช้งานของข้อเข่าดีขึ้น และองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าดีขึ้น
คำ�สำ�คัญ: ยาทาพระเส้น, ปวดเข่า, การวินิจฉัยทางการแพทย์แผนไทย, โรคลมจับโปงแห้งเข่า
Received date 18/06/19; Revised date 20/08/19; Accepted date 24/09/19
447