Page 78 - วารสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 17 ฉบับที่ 3
P. 78

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                     ปีที่ 17  ฉบับที่ 3  กันยายน-ธันวาคม 2562
            428 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก      Vol. 17  No. 3  September-December 2019
                                                               ปีที่ 17  ฉบับที่ 3  กันยายน-ธันวาคม 2562


                                                                                นิพนธ์ต้นฉบับ



           ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม ฟลาโวนอยด์รวม

           และเมลาโทนิน ของใบหม่อน 5 พันธุ์



           เทียนทิพย์ กสิกรณ์ , ปัญญดา ปัญญาทิพย์ , ชวลิต โยงรัมย์ , อรวรรณ ดอกเกี๋ยง , บรรลือ สังข์ทอง ,
                                                                             §
                           *
                                                                                            ¶
                                                            ‡
                                              †
           เพลินทิพย์ ภูทองกิ่ง #,**
            หลักสูตรเภสัชกรรมแผนไทย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002
           *
           † หลักสูตรวิจัยและพัฒนาเภสัชภัณฑ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002
           ‡ หลักสูตรชีวเวชศาสตร์ คณะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002
           § ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพรางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000
            หน่วยวิจัยเภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 44150
           ¶
            กลุ่มวิจัยเมลาโทนิน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002
           #
           ** ผู้รับผิดชอบบทความ: pploenthip@kku.ac.th







                                                บทคัดย่อ

                   การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน และวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟีนอลิก
              รวม ฟลาโวนอยด์รวมและเมลาโทนินในใบหม่อน 5 พันธุ์ คือ บุรีรัมย์ 60 ใหญ่บุรีรัมย์ สกลนคร คุณไพ และศรีสะเกษ
              โดยเก็บตัวอย่างใบหม่อนในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 จากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
              พระบรมราชินีนาถ จังหวัดขอนแก่น พบว่าพันธุ์ใหญ่บุรีรัมย์ มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันสูงสุด เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH
              radical scavenging assay โดยมีค่า IC เท่ากับ 96.17 ± 2.28 µg/ml และ เมื่อหา Ferric ion Reducing Antioxidant Power
                                       50
              (FRAP) ได้ FRAP value เท่ากับ 163.99 ± 9.26 mmol/100 g extractแต่เมื่อทดสอบด้วยวิธี ABTS พันธุ์ศรีสะเกษมีฤทธิ์ต้าน

              ออกซิเดชันสูงสุด โดยมีค่า IC เท่ากับ 75.24 ± 1.71 µg/ml สำาหรับปริมาณสารประกอบในพันธุ์ทั้ง 5 ของใบหม่อน
                                  50
              พบว่าพันธุ์บุรีรัมย์ 60 มีปริมาณฟลาโวนอยด์รวมสูงสุด 37.19 ± 0.53 mgQE/g extract ส่วนผลการวิเคราะห์ปริมาณ
              สารประกอบฟีนอลิกรวม และเมลาโทนินปรากฏว่า พันธุ์ใหญ่บุรีรัมย์มีปริมาณสูงสุด คือ 390.89 ± 3.90 mgGAE/g
              extract และ 9.77 ± 0.32 g/g extract ตามลำาดับ จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าฤทธิ์ต้านออกซิเดชันมีความสัมพันธ์
              กับปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม ฟลาโวนอยด์รวมและเมลาโทนิน ที่พบในใบหม่อน

                   คำ�สำ�คัญ: หม่อน, ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน, ฟีนอลิกรวม, ฟลาโวนอยด์รวม, เมลาโทนิน









           Received date 17/05/19; Revised date 24/09/19; Accepted date 10/10/19


                                                   428
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83