Page 154 - วารสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 17 ฉบับที่ 2
P. 154
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2562
Vol. 17 No. 2 May-August 2019
292 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2562
นิพนธ์ต้นฉบับ
สถานการณ์การวิจัยสมุนไพรไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ
และข้อเสนอเชิงนโยบาย
*,†
กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์ , อารียา จิรธนานุวัฒน์ , ภานุพงศ์ ภู่ตระกูล §
‡,¶
* ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 10330
† ภาควิชาสุขภาพระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ เมืองบัลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา 21205
‡ ภาควิชาเทคโนโลยีสุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กรุงเทพมหานคร 10300
§ หลักสูตรการวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 10330
¶ ผู้รับผิดชอบบทความ: areeya@nmu.ac.th
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดกลุ่มประเภทการศึกษาสมุนไพรไทย และเพื่อจัดทำาข้อเสนอเชิงนโยบายต่อ
การวิจัยสมุนไพร โดยใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมบทความทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศอย่างเป็นระบบ
ในฐานข้อมูล ThaiLis PubMed และ Scopus (ตีพิมพ์ พ.ศ. 2555 – 2560) ในส่วนของบทความต่างประเทศใช้การสุ่ม
ร้อยละ 5 ของที่สืบค้นได้แล้วจึงทำาการคัดกรอง ทำาการจัดกลุ่มรูปแบบการศึกษาเป็น (1) งานวิจัยทางห้องปฏิบัติการ
และงานวิจัยในสัตว์ทดลอง (2) งานวิจัยเชิงคุณภาพ งานวิจัยการทบทวนวรรณกรรม และกรณีศึกษา (3) งานวิจัย
เชิงทดลอง (4) งานวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ (5) งานวิจัยเชิงสำารวจผู้ให้บริการ/ผู้ผลิต งานวิจัยการตลาด และงานวิจัย
เชิงสำารวจผู้บริโภค (6) การประเมินทางเศรษฐศาสตร์ ผลการศึกษาพบบทความวิชาการไทยที่เกี่ยวข้องและนำามา
วิเคราะห์ทั้งหมด 531 เรื่อง จำานวนเรื่องงานวิจัยเรียงตามกลุ่มรูปแบบการศึกษาคือ 116-23-12-24-19-2 มีสมุนไพร
ไทยทั้งหมด 281 ชนิดและพบการใช้ขมิ้นชันมากสุด บทความวิชาการต่างประเทศ ได้จำานวน 2,184 บทความ เรียง
ตามกลุ่มรูปแบบการศึกษาคือ 69-18-4-4-0-0 พบสมุนไพรทั้งหมด 852 ชนิด และมีการนำาโสมมาใช้มากสุด โดยสรุป
แล้วงานวิจัยสมุนไพรไทยยังขาดรูปแบบงานวิจัยในเชิงคุณภาพ การทบทวนวรรณกรรม และงานวิจัยเชิงทดลอง ข้อ
เสนอแนะการขับเคลื่อนงานวิจัยสมุนไพรในอีก 5 ปีข้างหน้า คืองานวิจัยที่ควบคู่กับนโยบายประเทศควรมีร้อยละ 30
งานวิจัยที่มีความสมดุลระหว่างนโยบายและการปฏิบัติร้อยละ 40 และงานวิจัยระดับนักวิจัยหน้าใหม่ร้อยละ 30
คำ�สำ�คัญ : การวิจัยสมุนไพรไทย, การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ
Received date 05/10/18; Revised date 04/04/19; Accepted date 10/06/19
292