Page 101 - วารสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 17 ฉบับที่ 2
P. 101
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2562 Vol. 17 No. 2 May-August 2019
นิพนธ์ต้นฉบับ
การรักษาอาการเครียดในศาสตร์การแพทย์แผนไทย
สุพจน์ พงษ์วัชรารักษ์ ’ , วิชัย โชควิวัฒน †
* ‡
* สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 1 ถนนอู่ทองนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
† สถาบันพัฒนาการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี 11000
‡ ผู้รับผิดชอบบทความ: supojpong@gmail.com
บทคัดย่อ
การรักษาโรคเครียดในปัจจุบันผู้ป่วยต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่องและมีผลข้างเคียงจากการใช้ยา งานวิจัยนี้มี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและวิธีการรักษาอาการเครียดตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยโดยศึกษาถึงกลไกการเกิด
โรค อาการและการดำาเนินโรค วิธีการรักษา และการป้องกัน โดยออกแบบเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร
และการสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บข้อมูลจากพระคัมภีร์จำานวน 9 เล่ม และจากผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมไทยจำานวน 9 ท่าน
จากการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ทำาให้เจ็บป่วยคือ ธาตุ อุตุ อายุ กาลเวลา ประเทศ และพฤติกรรมก่อโรค โดยมีกลไกการเกิด
้
โรค คือความเครียดทำาให้ธาตุไฟกำาเริบ กระทบต่อให้ธาตุลมกำาเริบและธาตุนำาหย่อน หากยังเครียดต่อเนื่องธาตุไฟจะ
้
หย่อน ธาตุลมจะหย่อน ธาตุนำาจะกำาเริบและหยุดนิ่ง จนของเสียสะสม ปริมาณของของเสียจะมากขึ้นจนกระทบธาตุ
ดินให้วิปริต อาการจะเริ่มจากท้องแล้วลามสูงขึ้นไปจนมีอาการที่ศีรษะ ธาตุดินต่าง ๆ ที่วิปริตไปจะขึ้นอยู่กับธาตุดิน
หลักสามประการคือ หทยัง อุทริยัง และกรีสัง การรักษาจะเน้นไปที่การทำาให้ธาตุดินหลักสามประการนี้กลับมาเป็น
ปกติดังเดิม แล้วปรับธาตุไฟและธาตุลมให้เข้าสู่สมดุลตามธาตุเจ้าเรือน บำารุงธาตุดินให้สมบูรณ์ การป้องกันโดยการ
ปรับธาตุเป็นระยะ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง และปรับทัศนคติให้ปล่อยวางมากขึ้น
คำ�สำ�คัญ : ความเครียด, การแพทย์แผนไทย
Received date 28/09/18; Revised date 20/02/19; Accepted date 02/04/19
239