Page 87 - วารสารปีที่17ฉบับที่1
P. 87
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2562 Vol. 17 No. 1 January-April 2019
นิพนธ์ต้นฉบับ
การเปรียบเทียบประสิทธิผลของการรมยากับการฝังเข็มต่อการรักษาอาการ
ปวดหลังจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
*
นครทรัพย์ หล่าวเจริญ , ธาวิณี ช่วยเอื้อ
สาขาวิชาการแพทย์แผนจีน สำานักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย 57100
† ผู้รับผิดชอบบทความ: nakornsub.law@mfu.ac.th
บทคัดย่อ
การเปรียบเทียบประสิทธิผลของการรมยากับการฝังเข็มต่อการลดอาการปวดหลังจากหมอนรองกระดูกทับ
เส้นประสาทในผู้เข้าร่วมวิจัย จำานวน 79 รายที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำาบลปอ อำาเภอเวียง
แก่น จังหวัดเชียงรายและได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แผนปัจจุบันว่ามีอาการปวดหลังจากหมอนรองกระดูกทับเส้น
ประสาท วัดคะแนนความปวดโดยใช้ visual analogue scale (VAS) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองรักษาโดยการ
รมยาจำานวน 40 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบรักษาโดยการฝังเข็มจำานวน 39 ราย โดยทั้งสองกลุ่มเลือกใช้จุด Shenshu
(BL23), จุด Dachangshu (BL25), จุด Zhibian (BL54) และจุด Huantiao (GB30) ในการรักษาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้ง
ละ 20 นาที รวม 8 ครั้ง หลังสิ้นสุดการรักษาวัดคะแนน และเก็บข้อมูลอีกครั้งในผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งสองกลุ่ม จากผลการ
ศึกษา พบว่าหลังสิ้นสุดการรักษากลุ่มเปรียบเทียบมีคะแนนความปวดเฉลี่ย 2.38 ± 0.88 กลุ่มทดลองมีคะแนนความ
ปวดเฉลี่ย 2.88 ± 0.91 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดก่อนและหลังการทดลองในทั้ง
สองกลุ่ม พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ (p < 0.05 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนน
ความปวดระหว่างกลุ่มเปรียบเทียบและกลุ่มทดลอง พบว่าหลังการทดลองคะแนนความปวดทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่าง
กันในทางสถิติ (p > 0.05) ผลที่ได้ชี้ให้เห็นว่า การรมยามีประสิทธิผลในการลดอาการปวดหลังจากหมอนรองกระดูก
ทับเส้นประสาทเช่นเดียวกับการฝังเข็มซึ่งอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาอาการปวดหลังจากหมอนรองกระดูก
ทับเส้นประสาท
คำ�สำ�คัญ : การฝังเข็ม, การรมยา, หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท, ปวดหลังส่วนล่าง
Received date 17/08/18; Revised date 14/11/18; Accepted date 07/02/19
77